YOU
Can('t) Sit
with US!
เมื่อ “ฝั่งฝ่าย” เข้มข้น
บทสนทนา
ก็ไม่ไปถึงไหน
เลื่อนเพื่ออ่านเนื้อหา
ฉัน ถูก!
แก ผิด!
ฉัน ขวา!
แก ซ้าย!
“ฝั่งฝ่าย” นั้นสร้างขึ้นได้ง่ายดาย
เริ่มแค่การพูดว่า “ฉัน” และ “แก” ต่างกัน
ก็เหมือนกับบทสนทนาทางการเมืองไทย
ที่พูดแบ่ง “ฉัน” แบ่ง “แก” กันมา ไม่ว่ายุคสมัยไหน
ยิ่งบวกกับกับพลังของโซเชียลมีเดียปัจจุบัน
ห้องแห่งเสียงสะท้อน (Echo Chamber) ก็ยิ่งเกิดขึ้นง่ายขึ้น… ง่ายขึ้น…
เส้นแบ่งที่ขีดชัด
พาให้ “ฉัน” ปิดหูไม่รับฟัง “แก” ไม่อยากร่วมโต๊ะเสวนากับ “แก”
อาจมอง “แก” เป็นศัตรู มากกว่าผู้เห็นต่าง
หากปล่อยไว้จนรอยแยกถ่างกว้าง
การเห็นต่างถูกปิดกั้น บทสนทนาก็ไม่สร้างสรรค์
อาจลุกลามสู่การขัดขวางการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของฝ่ายตรงข้าม การปลุกระดมความรุนแรง
ฉายซ้ำผลลัพธ์ทางการเมืองแบบเดิม ๆ ที่ก้าวไม่พ้นการแบ่งแยกกีดกัน
เพราะความเชื่อว่า “แก” กับ “ฉัน” อยู่ร่วมกันไม่ได้
ชวนสำรวจ การแบ่งแยก
ในบทสนทนาทางการเมืองไทยผ่านภาพรวม
ของความเป็นกลุ่มก้อนและการใช้คำพูดที่ไม่สร้างสรรค์
ด้วยข้อมูลปฏิสัมพันธ์ของชาว Twitter (X)
ในช่วงเวลาที่บทสนทนาเผ็ดร้อนอย่างฤดูเลือกตั้งปี 2566
ช่วงเวลาที่พาให้ครุ่นคิดถึงผลกระทบระยะยาวต่อบรรยากาศ
การสนทนาระหว่าง “ฉัน” และ “แก” และ “แก” และ “แก”
Disclaimer
ที่มาและขอบเขตข้อมูล
รายงานเรื่อง
“ถอดรหัสปฎิบัติการปั่นข้อมูลข่าวสารในไทย #เลือกตั้ง2566”
โดย Digital Election Analytic Lab (DEAL) ซึ่งเก็บข้อมูลจากบัญชีผู้ใช้ Twitter 4 ประเภท ได้แก่
- บัญชีทางการของพรรคการเมือง 16 พรรคหรือบัญชี
- บัญชีของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค 466 คนหรือบัญชี
- บัญชีของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี 15 คนหรือบัญชี
- บัญชีผู้ใช้ที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีทั้งสามกลุ่มข้างต้น 59,472 บัญชี
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลวันที่ 1 เมษายน - 14 มิถุนายน 2566
ชาร์ตจะแสดงข้อมูลของ 3 กลุ่มก้อน ได้แก่ กลุ่มก้อนของบัญชีที่มักมี “ปฏิสัมพันธ์” (Fav, Reply, Retweet, Quote Retweet, Mention) กับ
พรรค
ก้าวไกล
พรรค
เพื่อไทย
พรรคที่
สนับสนุน
ฝ่าย 3 ป.
เนื่องจากเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ใน Twitter
และสามารถสำรวจปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ชัดเจนที่สุด
ทั้งนี้ การมีปฏิสัมพันธ์ไม่ได้หมายถึงการสนับสนุนพรรคนั้นเสมอไป
ข้อมูลที่แสดงในงานนี้ลดทอน “ปริมาณปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบัญชี (Degree of interaction)” ของแต่ละบัญชีเหลือ 5% จากทั้งหมด
เนื่องจากข้อมูลดิบมีปริมาณมากกว่า 60,000 บัญชีผู้ใช้ ทำให้ไม่สามารถสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างบัญชีได้อย่างชัดเจน
การลดทอนจะส่งผลให้บัญชีจำนวนหนึ่งที่มีปริมาณปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่น ๆ ต่ำมาก ไม่ปรากฏในชาร์ต เพื่อให้ชาร์ตสามารถแสดง "ภาพรวม" ปฏิสัมพันธ์ในแต่ละช่วงเวลาได้ชัดเจน และเข้าใจง่ายมากที่สุด
ชาร์ตนี้แสดงข้อมูลในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน (8 เม.ย. - 14 มิ.ย. 2566) และเป็น ข้อมูลจาก Twitter เพียงหนึ่งแหล่งเท่านั้น
เพื่อสะท้อนภาพตัวอย่างของบรรยากาศการฝั่งแบ่งฝ่ายของบทสนทนาทางการเมืองไทยอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ หน้าตาของโครงข่ายปฏิสัมพันธ์ระหว่างบัญชีต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาภายหลังระยะเวลา 3 เดือนนี้
บัญชีผู้ใช้ที่ปรากฏในโครงข่ายในแต่ละช่วงเวลามีจำนวนสุทธิไม่เท่ากัน
เนื่องจากแต่ละช่วงเวลา บัญชีที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งกันและกันมีจำนวนมาก-น้อย แตกต่างกันไป
วิธีอ่านชาร์ต
บัญชีผู้ใช้ทั่วไป
บัญชีที่เผยแพร่เนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์
เนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์ หมายถึง เนื้อหาที่เข้าข่าย 4 มาตรวัดต่อไปนี้
- เนื้อหาเหยียดและกีดกันบนฐานอัตลักษณ์
- เนื้อหาที่สงสัยว่าเป็นข้อมูลบิดเบือน
- เนื้อหายั่วยุปลุกปั่นที่มุ่งร้ายให้เกิดความรุนแรงต่อผู้อื่น
- เนื้อหาคุกคามและด้อยค่า
ความหมายของสี
บัญชีที่มักมีปฏิสัมพันธ์กับพรรคก้าวไกล
บัญชีที่มักมีปฏิสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย
บัญชีที่มักมีปฏิสัมพันธ์กับพรรคที่สนับสนุนกลุ่ม 3 ป.
"ปฏิสัมพันธ์" หมายถึง การ Fav, Reply, Retweet, QT, Mention และการมีปฏิสัมพันธ์ไม่ได้หมายถึงการสนับสนุนพรรคนั้นเสมอไป
มีจุดทั้งหมด 3 ขนาด
ขนาดเล็ก
=
บัญชีมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่นน้อย
ขนาดกลาง
=
บัญชีมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่นปานกลาง
ขนาดใหญ่
=
บัญชีมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่นมาก
ระยะห่าง หมายถึง ความถี่
ในการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบัญชี
ยิ่งปฏิสัมพันธ์บ่อย จุดยิ่งชิดกัน
ยิ่งปฏิสัมพันธ์น้อย จุดยิ่งห่างกัน
บัญชีผู้ใช้ทั่วไป
บัญชีที่เผยแพร่เนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์
เนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์ หมายถึง เนื้อหาที่เข้าข่าย 4 มาตรวัดต่อไปนี้
- เนื้อหาเหยียดและกีดกันบนฐานอัตลักษณ์
- เนื้อหาที่สงสัยว่าเป็นข้อมูลบิดเบือน
- เนื้อหายั่วยุปลุกปั่นที่มุ่งร้ายให้เกิดความรุนแรงต่อผู้อื่น
- เนื้อหาคุกคามและด้อยค่า
ความหมายของสี
บัญชีที่มักมีปฏิสัมพันธ์กับพรรคก้าวไกล
บัญชีที่มักมีปฏิสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย
บัญชีที่มักมีปฏิสัมพันธ์กับพรรคที่สนับสนุนกลุ่ม 3 ป.
"ปฏิสัมพันธ์" หมายถึง การ Fav, Reply, Retweet, QT, Mention และการมีปฏิสัมพันธ์ไม่ได้หมายถึงการสนับสนุนพรรคนั้นเสมอไป
มีจุดทั้งหมด 3 ขนาด
ขนาดเล็ก
=
บัญชีมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่นน้อย
ขนาดกลาง
=
บัญชีมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่นปานกลาง
ขนาดใหญ่
=
บัญชีมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่นมาก
ระยะห่าง หมายถึง ความถี่
ในการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบัญชี
ยิ่งปฏิสัมพันธ์บ่อย จุดยิ่งชิดกัน
ยิ่งปฏิสัมพันธ์น้อย จุดยิ่งห่างกัน
สำรวจภาพ “การแบ่งแยก” ผ่านความเป็นกลุ่มก้อน ของการสนทนาของชาวเน็ต
ในฤดูเลือกตั้ง 2566
ฝั่งก้าวไกล
ฝั่งเพื่อไทย
ฝั่ง 3 ป.
บัญชีไม่สร้างสรรค์
ไทม์ไลน์เหตุการณ์ช่วงเลือกตั้งปี 2566
เมษายน 2566
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
บรรดาพรรคลงพื้นที่
ปราศรัยนโยบาย
x
18
19
20
21
22
23
24
ศึกหาเสียง
ยังคงร้อนแรง
พฤษภาคม 2566
x
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5
นับถอยหลัง
วันเลือกตั้งล่วงหน้า
x
6
7
8
9
10
11
12
‘เรืองไกร’
ร้องพิธาปมหุ้น ITV
x
13
14
15
วัน
เลือกตั้ง
ทั่วไป
x
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
เริ่มมหากาพย์ MOU
มิถุนายน 2566
x
26
27
28
29
30
1
2
3
ดีลเดือด
เก้าอี้ประธานสภา
x
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
ชุลมุนต่อเนื่อง
กับการจัดตั้งรัฐบาล
เริ่มมา กลุ่มก้อนของฝั่งก้าวไกลและฝั่งเพื่อไทยมีส่วนที่ทับซ้อนกัน
”ฝั่ง” จะระบุจากบัญชีพรรคการเมือง ที่บัญชีผู้ใช้นั้นมักมีปฏิสัมพันธ์ (Fav, Reply, Retweet, QT, Mention) ด้วย ทั้งนี้ปฏิสัมพันธ์ไม่ได้สื่อถึงการสนับสนุนพรรคการเมืองนั้นเสมอไป
ส่วนกลุ่มก้อนฝั่ง 3 ป. แยกห่างออกมาอย่างชัดเจน
เวลานี้ จุดต่าง ๆ ชิดและกระจุกกัน เนื่องจากจำนวนบัญชีที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันเพิ่มขึ้น และต่างมีปฏิสัมพันธ์กันในปริมาณมาก
กลุ่มก้อนฝั่งก้าวไกล และฝั่งเพื่อไทย ทับซ้อนกันมากขึ้น
กลุ่มก้อนฝั่งก้าวไกล และฝั่งเพื่อไทย เริ่มแยกตัวจากกัน
บัญชีต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์กันในปริมาณมาก จนจุดชิดและกระจุกกันอีกครั้ง
กลุ่มก้อนฝั่ง 3 ป. ทิ้งระยะห่างจากอีกสองกลุ่มก้อนอย่างชัดเจน
ช่วงเวลานี้พบบัญชีที่เผยแพร่เนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์มากที่สุด
เนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์ คือเนื้อหาที่เข้าข่าย การเหยียดอัตลักษณ์, บิดเบือน, ปลุกปั่นความรุนแรง, คุกคามและด้อยค่า
กลุ่มก้อนฝั่งก้าวไกลและฝั่งเพื่อไทยเริ่มแยกตัวจากกันอีกครั้ง
ทั้ง 3 กลุ่มก้อน แยกตัวจากกันอย่างชัดเจน
ภาพรวม
ในช่วงแรก
บัญชีในแต่ละกลุ่มก้อนกระจุกตัวอย่างหนาแน่น
แต่เมื่อเวลาผ่านไป บัญชีเหล่านั้น เริ่มกระจายตัวจากกัน จนกลุ่มก้อน มีลักษณะหลวมขึ้น
กลุ่มก้อนของฝั่ง 3 ป.
แยกตัวห่างจากอีก 2 กลุ่มก้อนมาโดยตลอด
พลวัตของกลุ่มก้อน
ฝั่งก้าวไกลและฝั่งเพื่อไทย
สลับไปมาระหว่าง
การทับซ้อนกัน
และแยกห่างจากกัน
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
นอกจากความเป็นกลุ่มก้อน การแบ่งแยกในบทสนทนาทางการเมือง ยังสะท้อนผ่านการใช้คำพูดเหยียดหยาม คุกคาม ปลุกระดมความรุนแรงต่อกัน
มาสำรวจเนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์
ที่ปรากฏในแต่ละช่วงเวลา
เลือกช่วงเวลา
5 อันดับคำที่พบมากที่สุดในโพสต์ที่ไม่สร้างสรรค์
*ในช่วงเวลานี้ มีคำอันดับ 3 ร่วมมากกว่า 10 คำ
จึงจะแสดงผลเพียง 2 อันดับแรกเท่านั้น
กดเลือกคำเพื่อดูโพสต์
เมื่อบทสนทนาในโลกโซเชียลไม่เคยหยุดนิ่ง และคำพูดที่ไม่สร้างสรรค์ผุดมาไม่เคยว่างเว้น ความเป็น “พวกฉัน” “พวกแก” ก็อาจคงอยู่ในระยะยาว ไม่จบแค่ฤดูเลือกตั้ง
แล้วบทสนทนาทางการเมืองไทย จะพ้นจากการแบ่งแยกได้เมื่อไหร่?
ถึงเวลาสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ของบทสนทนา
เพื่อนำพาผลลัพธ์ใหม่ ๆ
มาสู่สังคมอุดมความคิดเห็น
ถ้าการแบ่ง “ฉัน” แบ่ง “แก” ไม่พาบทสนทนาให้ไปถึงไหน ได้แต่ย่ำอยู่กับความเกลียดชังและความรุนแรง
ก็ลองผ่อนปรนการแบ่งแยก ผ่อนคลายบทสนทนาที่ร้อนแรง ให้ “ฉัน” และ “แก” ได้นั่งคุยกันในบรรยากาศที่สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น
ก็ไม่แน่ว่า “เรา” อาจจะได้มุมมองใหม่ ๆ ของสารพันปัญหาการเมือง จากการถกเถียงแลกเปลี่ยนด้วยเหตุผล
ไม่แน่ว่า “เรา” อาจจะได้ข้อเสนอใหม่ ๆ ต่อการแก้ไขกฎหมาย จากการพูดคุยและรับฟังหลากหลายฝ่าย
ไม่แน่ว่า “เรา” อาจจะได้ทางออก
ทางการเมืองใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยไปถึง…ซะที