image
(อัปเดตข้อมูล เมื่อวันที่ 21/12/2566)
image
image
ชำแหละคำวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญไทย
ข้ามไปสำรวจ
imageimage
image
image
ศาลรัฐธรรมนูญ
องค์กรตุลาการ ทำหน้าที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญผ่านการวินิจฉัยคำร้อง
เป็นองค์กรที่ควบคุมกฎหมายสูงสุด และมีหน้าที่พิจารณา วินิจฉัย “คดีรัฐธรรมนูญ” ที่สร้างผลผูกพันกับทุกองค์กร
image
ผลของคำวินิจฉัยจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกคน
ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องวางอยู่บนหลักนิติธรรม บนบรรทัดฐานที่ถูกต้อง มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง สู่ชุด “ค่านิยม” ขององค์กร ที่มีไว้ว่า
image
ยึดหลักนิติธรรม ค้ำจุนประชาธิปไตย
ห่วงใยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
imageimage
แล้วศาลรัฐธรรมนูญ
ได้ทำหน้าที่ตามค่านิยม
ที่มีไว้หรือเปล่านะ ?
ในการตรวจสอบว่าศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ตรงตามค่านิยมองค์กรหรือไม่นั้น เราต้องทราบก่อนว่าศาลรัฐธรรมนูญมี “อำนาจหน้าที่” วินิจฉัยในประเด็นใดบ้าง 
imageDisclaimer
การแบ่งประเภทอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และการจัดประเภทคำวินิจฉัย เป็นการจัดแบ่งที่ทาง WeVis สรุปใจความจากที่มาและอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 210 พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อนำเสนอข้อมูลตามลักษณะประเภทที่มีความเกี่ยวโยงกัน
ศาลรัฐธรรมนูญ ทำอะไรบ้าง ?
คดีรัฐธรรมนูญเริ่มต้นขึ้นเมื่อมี "ผู้ร้อง" ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
คำย่อและอักษรย่อ
image
image
หน้าที่ตรวจสอบกฎหมายให้ตรงตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ
image
ตรวจสอบ “ร่างกฎหมาย” ก่อนประกาศใช้
image
พิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี
image
ตรวจสอบกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้ว
image
วินิจฉัยประเด็นหน้าที่และอํานาจขององค์กรอิสระ
image
image
หน้าที่ตรวจสอบสถาบันทางการเมือง
image
ตรวจสอบคุณสมบัติและวินิจฉัยสถานะ ของ สส. สว. และคณะรัฐมนตรี
image
วินิจฉัยประเด็นหน้าที่และอํานาจของ สส. สว. คณะรัฐมนตรีและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
image
วินิจฉัยมติ ครม. และการดำเนินการของ ครม. ตาม พ.ร.บ. การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
image
ทำหน้าที่ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้แก่ วินิจฉัยคำร้องและคำสั่งจาก กกต. ที่มีต่อพรรคการเมือง เช่น พิจารณาตัดสินยุบพรรคการเมืองตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค
image
image
หน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ
image
ให้สิทธิประชาชนยื่นคำร้องเมื่อถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ
image
วินิจฉัยกรณีที่ประชาชนหรือชุมชนฟ้องหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ได้รับประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
image
วินิจฉัยว่าใครใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง
image
วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
imageimage
ฉายคำวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญไทย
นับตั้งแต่ถูกจัดตั้งเป็นองค์กรตุลาการตามรัฐธรรมนูญในปี 2540 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดีไปมากกว่า 563 เรื่อง หากแบ่งคำวินิจฉัยออกตามประเภทหน้าที่ จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคำวินิจฉัย
(อัปเดตข้อมูลเมื่อวันที่ 21/12/2566)
ตรวจสอบกฎหมาย
354 คดี
ตรวจสอบสถาบันทางการเมือง
190 คดี
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ
19 คดี
สัดส่วนประเภทคำวินิจฉัยที่มีมากที่สุดคือ คำวินิจฉัยในเรื่องการตรวจสอบกฎหมายให้ตรงตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ จากการวินิจฉัยว่ากฎหมายหรือร่างกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ ซึ่งล้วนเป็นการตีความข้อปัญหาให้ตรงตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยที่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์บ่อยครั้ง คือ “คำวินิจฉัยในเรื่องการตรวจสอบ สถาบันทางการเมือง” เพราะเป็นการวินิจฉัยต่อบุคคล หรือสถาบันที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน และหลายคำวินิจฉัยก็ปรากฎให้เห็นถึงนัยซ่อนเร้นทางการเมืองที่ส่งผลโดยตรงต่อภาพลักษณ์ความเป็น กลางของศาลรัฐธรรมนูญ
ในส่วนของ “คำวินิจฉัยในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และความมั่นคงของรัฐ” นั้น เป็นคำวินิจฉัยที่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยตรง จึงเป็นประเภทคำวินิจฉัยที่ถือว่าใกล้ตัว และมีส่วนได้เสียกับ “เรา” ในฐานะประชาชนมากที่สุด
งานชิ้นนี้จึงตั้งใจหยิบยกคำวินิจฉัย 2 ประเภทหลัง คือ
คำวินิจฉัยตรวจสอบสถาบันทางการเมือง
คำวินิจฉัยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ
ที่มักส่งผลต่อภาพลักษณ์ของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น
ข้อวิจารณ์เรื่องการตีความนอกเหนือตัวบทกฎหมาย เมื่อมีการชี้ขาดคดีทางการเมือง และคำวินิจฉัยในเรื่องสิทธิฯ ที่มักไม่ได้ส่งเสริมสิทธิของประชาชน
โดยความสำคัญนั้นสามารถตั้งข้อสังเกตและอาจไขข้อคาใจ ได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญผลิตคำวินิจฉัยที่สะท้อนค่านิยมจริงหรือไม่ ?
imageimage
เลือกสำรวจคำวินิจฉัย
เพื่อให้คุณได้ลองตัดสินใจว่าที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไทย ได้ทำงานตามค่านิยมองค์กรที่ว่า "ยึดหลักนิติธรรม ค้ำจุนประชาธิปไตย ห่วงใยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน" หรือไม่?
image
image
สำรวจคำวินิจฉัย
ตรวจสอบสถาบันทางการเมือง
image
image
สำรวจคำวินิจฉัย
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ
image
image
คำวินิจฉัยในเรื่องการตรวจสอบ สถาบันทางการเมือง
imageimage
ตลอดระยะเวลากว่า 26 ปี ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดีทางการเมือง ไปมากกว่า 190 คดี
ซึ่งหลายเรื่องสร้างผลลัพธ์สำคัญทางการเมือง
11/10/2540 เกิดเหตุการณ์
imageรัฐธรรมนูญ 2540 มีผลใช้บังคับ

image
ตลอดช่วงการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ศาลรัฐธรรมนูญ มีบทบาทอย่างแข็งขันในการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่พรรคการเมืองใดทำผิด พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มีผลทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็ก จำนวน 76 พรรคถูกยุบพรรคลงเพราะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข ให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
และยังมีอำนาจในการชี้ขาดว่า ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินฯ หรือแสดงรายการทรัพย์สิน อันเป็นเท็จฯ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อเข้ารับหรือออกจากตำแหน่งส่งผลให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดและสิ้นสุดสถานะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไปกว่า 28 ราย
หากแบ่งคำวินิจฉัยตามประเภท
'ผู้ถูกร้อง' จะแบ่งคำวินิจฉัยเป็น 3 กลุ่มสำคัญ
image
ฝ่ายร่วมรัฐบาล
image
ฝ่ายค้าน
image
อื่นๆ
ผลของคำวินิจฉัยในคดีตรวจสอบสถาบันทางการเมือง จะปรากฏใน 2 รูปแบบ ได้แก่
คำวินิจฉัยที่ส่งผลกระทบลบต่อผู้ถูกร้อง
เป็นคำวินิจฉัยที่ผู้ถูกร้องเสียประโยชน์/มีความผิด เช่น ยุบพรรคการเมือง, สถานะการเป็น สส. สิ้นสุดลง, หลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรี
คำวินิจฉัยที่ส่งผลกระทบบวกต่อผู้ถูกร้อง
เป็นคำวินิจฉัยที่ผู้ถูกร้องได้ประโยชน์/ไม่เสียประโยชน์ /ไม่มีความผิด เช่น ศาลยกคำร้อง, คงสถานะการเป็น สส. , ไม่หลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรี
คำวินิจฉัยที่มีผลคำวินิจฉัยปรากฏเป็น 2 กรณี
  • คำวินิจฉัยที่มีผู้ถูกร้องมากกว่า 1 คนและมีผลคำวินิจฉัยที่ทั้งส่งผลกระทบบวกและลบ
  • คำวินิจฉัยที่มีผู้ถูกร้อง 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน และผลคำวินิจฉัยมีกรณีเดียว คือส่งผลกระทบลบ
06/01/2544 เกิดเหตุการณ์
image2544 เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

image
ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ติดต่อกัน ในช่วงระยะเวลานี้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 2 คดีสำคัญของ นายทักษิณฯ ให้เป็นผลบวก ทำให้นายทักษิณฯ รอดจาก การหลุดจากตำแหน่งนายกฯ ถึง 2 ครั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจึงถูกมอง ว่าโอนอ่อนต่อรัฐบาลทักษิณฯ ที่อยู่ในวาระในช่วงนั้นมากเกินควร
คดียื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จกรณีซุกหุ้น
วินิจฉัยไม่รับคำร้องคดีขอให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ของ 28 สว.
25/04/2549 เกิดเหตุการณ์
imageในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสแก่ผู้พิพากษา

image
หนึ่งใน “เหตุการณ์สำคัญ” ที่อาจสร้างจุดเปลี่ยนต่อแนวทางการวินิจฉัย ในคดีทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญไทย เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสแก่ผู้พิพากษาว่าศาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตในการ พิจารณาตัดสินคดี
19/09/2549 เกิดเหตุการณ์
imageรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

image
การรัฐประหารในปี 2549 มาพร้อมกับคำวินิจฉัยที่เริ่มสร้างผลลัพธ์ด้านลบ ต่อ “รัฐบาลทักษิณฯ” คณะตุลาการที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร มีผลสำคัญที่ทำให้พรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมือง
24/08/2550 เกิดเหตุการณ์
imageรัฐธรรมนูญ 2550 มีผลใช้บังคับ

image
ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มสร้างผลลัพธ์สำคัญทางการเมืองในด้านบวกต่อรัฐบาลสายอำนาจเก่าอย่างพรรคประชาธิปัตย์ เช่น
วินิจฉัยให้นายกษิต ภิรมย์ รมว. การต่างประเทศในสมัย ครม. อภิสิทธิ์ฯ รอดจากการหลุดจากตำแหน่ง
วินิจฉัยให้พรรคประชาธิปัตย์รอดจากการถูกยุบพรรค 2 ครั้ง
ในขณะวินิจฉัยผลลัพธ์ในด้านลบต่อพรรคการเมืองในขั้วเดียวกับรัฐบาลทักษิณอย่าง “พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย” เช่น
วินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน
วินิจฉัยสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของ สมัคร สุนทรเวช และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
22/05/2557 เกิดเหตุการณ์
imageรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

image
รัฐประหารเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ และอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549
22/07/2557 เกิดเหตุการณ์
imageรัฐธรรมนูญ 2557 (ฉบับชั่วคราว) มีผลใช้บังคับ

image
คสช. แทรกแซงอำนาจศาลรัฐธรรมนูญผ่านการ 'ต่ออายุ' และ 'แต่งตั้ง' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
06/04/2560 เกิดเหตุการณ์
imageรัฐธรรมนูญ 2560 มีผลใช้บังคับ

image
หากนำคำวินิจฉัยคดีทางการเมืองภายใต้การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2560 จำนวน 20 คดีมาคิดเป็นอัตราส่วน จะพบว่า คำวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นผลบวกกับฝ่าย คสช. และฝ่ายร่วมรัฐบาลของ ครม. ประยุทธ์ 2 เป็นอัตราส่วน 60% (9 ใน 15 คำวินิจฉัย) มากกว่าฝ่ายที่ต่อต้าน คสช. และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่คำวินิจฉัยเป็นผลบวกเพียงแค่ 20% (1 ใน 5 คำวินิจฉัย)
24/03/2562 เกิดเหตุการณ์
image2562 เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

image
แนวโน้มของคำวินิจฉัยส่งผลบวกต่อรัฐบาลทหารและยังคงต่อเนื่อง โดยวินิจฉัยให้ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอดจากการหลุดจากตำแหน่งนายกฯ 2 ครั้ง ในขณะที่สร้างผลลัพธ์ด้านผลลบต่อฝ่ายคู่แข่งทางการเมืองอยู่หลายครั้ง เช่น สิ้นสุดสถานะการเป็น สส. ของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากพรรคอนาคตใหม่ และวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่
เลื่อนต่อเพื่อไปสำรวจ
คำวินิจฉัยอย่างละเอียด
imageimage
หลายครั้ง “ผลลัพธ์สำคัญทางการเมือง” เกิดขึ้น จากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ผ่านการลงมติของตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งบางครั้งอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ สร้างผลประโยชน์หรือโทษทางการเมืองแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
image
เหตุการณ์สำคัญ
เช่น รัฐประหาร พระราชดำรัส
ส่งผลต่อ
image
image
การทำงานของ ศาลรัฐธรรมนูญ
+
การลงมติของ ตุลาการ
ผลิต
image
image
คำวินิจฉัย ศาล รัฐธรรมนูญ
สร้าง
image
image
ผลลัพธ์ สำคัญ ทางการเมือง
เมื่อพิจารณาถึงคดีที่มีข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกัน อย่างกรณีคดีการถือหุ้นของรัฐมนตรี - สส.
เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้สองมาตรฐานในการวางเงื่อนไขเมื่อเข้าสู่ กระบวนการพิจารณา ทั้งระยะเวลาที่เปิดรับคำร้องจากวันที่คำร้องถูกเสนอยื่น และข้อกำหนดที่มีต่อพรรคร่วมฝ่ายค้าน
จำนวนวันที่ยื่นคำร้องจาก กกต. หรือ ประธานสภา ไปยังศาลฯ
จำนวนวันที่ศาลรับคำร้องจาก กกต. หรือ ประธานสภา
ชื่อคดี
ระยะเวลายื่นและรับคำร้อง
ข้อกำหนด
พรรคร่วมรัฐบาล
คดีภรรยาถือหุ้นเกิน 5% ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว. ต่างประเทศ (5/2561)
416 วัน
69 วัน
  • ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติจนกว่าศาลฯจะวินิจฉัย
คดีถือหุ้นสัมปทานรัฐ 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. (7/2562)
353 วัน
75 วัน
  • ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติจนกว่าศาลฯจะวินิจฉัย
คดีถือหุ้นสื่อ 41 สส. พรรคร่วมรัฐบาล (18-19/2563)
8 วัน *
14 วัน
  • ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติจนกว่าศาลฯจะวินิจฉัย
*ใช้เวลาน้อยกว่ากรณียื่นต่อ กกต. เพราะใน รธน. 2560 มาตรา 82 ระบุให้ประธานสภา รับคำร้องที่มาจาก สส. จำนวน 1 ใน 10 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ และยื่นคำร้องแก่ศาลฯ
พรรคร่วมฝ่ายค้าน
(ต่อต้าน คสช.)
คดีถือหุ้นสื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พรรคอนาคตใหม่ (14/2562)
51 วัน
7 วัน
  • สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
  • ศาลฯ รับคำร้องและให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ 1 วัน ก่อนเปิดสมัยประชุมรัฐสภาครั้งแรก (24 พ.ค. 62)
image
คดีถือหุ้นสื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล
63 วัน
7 วัน
  • ศาลฯสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
  • ศาลฯ สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ในวันที่สภามีประชุมวาระโหวตนายกฯ ครั้งที่ 2
imageimage
image
image
คำวินิจฉัยในเรื่องการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชน และความมั่นคงของรัฐ
imageimage
นับตั้งแต่ปี 2540 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย
คดีกรณีการคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพของประชาชน
และความมั่นคงของรัฐ
คดีกรณีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
14 คดี
ความมั่นคงของรัฐ
5 คดี
รวมทั้งหมด 19 คดี
imageimage
นับตั้งแต่ปี 2540 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย คดีกรณีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งหมด 14 คดี
โดยมีเพียงแค่ 3 คดี ที่ผลคำวินิจฉัยคุ้มครอง สิทธิของประชาชน
และมีเพียง 1 คำวินิจฉัย
ที่มีผลให้เปลี่ยนแปลงบทกฎหมาย
เพื่อขยายรับรองสิทธิของประชาชนมากขึ้น คือคำวินิจฉัยที่ 4/2563
คำวินิจฉัยแก้ไขกฎหมายอาญา (สิทธิทำแท้ง) โดย นางสาวศรีสมัย เชื้อชาติ (มาตรา 213)
ในขณะที่คำวินิจฉัยในเรื่องพิทักษ์ระบอบการปกครอง และความมั่นคงของรัฐมีทั้งหมด 5 คำวินิจฉัย
โดยผู้ถูกร้องจากคดีเหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มหรือบุคคลที่เป็นคู่ตรงข้ามทางการเมือง ของคณะรัฐประหารที่อยู่ในอำนาจในช่วงเวลานั้นหรือเคยอยู่ในอำนาจมาก่อน และเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง
เลื่อนต่อเพื่อไปสำรวจ
คำวินิจฉัยอย่างละเอียด
imageimage
ตัวอย่างคำวินิจฉัยที่ชวนคิดว่า“ศาลรัฐธรรมนูญ” ไม่ได้ทำหน้าที่ตามค่านิยม
imageในคำวินิจฉัยที่ 19/2564
คดีการชุมนุมปราศรัยในนามคณะบุคคลนำโดย กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563
image
ผู้ถูกร้อง 3 คน ปราศรัยในที่สาธารณะเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฯ และยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 ผ่านข้อเรียกร้อง 10 ประการ
ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งรับคําร้องกรณี
ของผู้ถูกร้อง 3 คน ไว้พิจารณา
ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าการชุมนุมปราศัยของทั้ง 3 คน เป็นการอ้างสิทธิโดยไม่คํานึงถึงหลักความเสมอภาค เป็นการบ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ
หากการปราศรัยให้มีการ “ปฏิรูปกฎหมายอาญา” เป็นการล้มล้างการปกครอง แล้วเหตุใดการทำรัฐประหาร ที่ฉีกรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดทิ้ง และร่างใหม่ โดยคณะบุคคลที่เข้ามายึดอำนาจ จึงไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครองด้วย?
รัฐประหารไม่เป็นความผิด
แต่เป็นอภิสิทธิ์ทางรัฐธรรมนูญ?
นับแต่การมีอยู่ของศาลรัฐธรรนูญในปี 2540 การเมืองไทยประสบกับเหตุการณ์รัฐประหารมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี 2549 และปี 2557
image
ถึงอย่างนั้นศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เคยก้าวล่วงไปพิพากษาเอาผิดคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง
ในทางกลับกันศาลรัฐธรรมนูญยังยอมรับประกาศหรือคำสั่ง และรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารเหล่านั้นตราออกมาว่าชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผิดจากหลักการปกครองในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ที่กฎหมายของคณะรัฐประหาร จะไม่ได้รับการรับรอง
ดังนั้นแล้ว ชุดคำถามสำคัญที่ ศาลรัฐธรรมนูญต้องตอบประชาชนให้ได้คือ
  • การรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือไม่?
  • การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยไม่ได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนเท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่?
imageimage
image
image
เพราะเหตุใดศาลรัฐธรรมนูญ จึงถูกวิจารณ์ว่าไม่ทำหน้าที่ตามค่านิยม ?
imageimage
เราขออาสาพาไปสำรวจ "ความคิดเห็นของนักวิชาการ" ต่อประเด็นปัญหานี้ เพื่อร่วมหาคำตอบว่าแท้จริงแล้วเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ทำหน้าที่ตามค่านิยมนั้น เป็นเพราะอะไรบ้าง
image
เพราะ “คณะตุลาการ” มีปัญหา?
เพราะทุกคำวินิจฉัยถูกพิจารณาโดยคณะตุลาการฯ หากคำวินิจฉัยมีปัญหา ก็ย่อมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการชี้ขาดโดยคณะตุลาการฯ หรือเปล่า ?
image
ความคิดเห็นของนักวิชาการในแวดวงกฎหมายต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย
image
ตุลาการศาลไม่เป็นอิสระจึงไม่ปลอดอคติเมื่อต้องวินิจฉัยคดีทางการเมือง
image
ตุลาการไม่เชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญมากพอ
(กฎหมายมหาชน)
image
ที่มาของตุลาการยึดโยงกับประชาชนน้อย จึงไม่ได้ทำงานเพื่อส่งเสริมสิทธิของประชาชน
image
เพราะขาดซึ่ง “กลไก” ที่ให้ประชาชนตรวจสอบ ?
แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะอ้างหลักความเป็นอิสระแต่การตัดสินคดีโดยไม่ถูกตรวจสอบจากสาธารณะจะทำให้ประชาชนขาดกลไกในการตรวจสอบศาลอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช่หรือไม่ ?
image
ความคิดเห็นของนักวิชาการในแวดวงกฎหมายต่อปัญหาเชิงกลไกในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ 
image
สังคมไร้เครื่องมือตรวจสอบอำนาจศาล
image
ประชาชนไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลได้
imageimage
ข้อเสนอของนักวิชาการ
ในแวดวงกฎหมาย
กระบวนการคัดสรรตุลาการต้องยึดโยงจากประชาชนมากขึ้น
ประชาชนต้องมีสิทธิรับทราบข้อมูลในกระบวนการสรรหาตุลาการฯและเพิ่มกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลมากขึ้น
image
image
รัฐธรรมนูญ 2560 ตัวแทนประชาชนจากการเลือกตั้ง มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการสรรหาในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ที่เป็นหนึ่งในกรรมการเพื่อสรรหาตุลาการในเฉพาะส่วนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น (4 ใน 9 คน)
image
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดสรรจากกรรมการคัดสรรจะต้องผ่าน ด่าน สว. แต่งตั้งอีกขั้นหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการสรรหาที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนแม้แต่น้อย
เพิ่มเครื่องมือประเมินผลคำวินิจฉัย
การเพิ่มระบบการประเมินความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ และคำวินิจฉัยในคดีสำคัญ จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และนำความเห็นมาเป็นตัวชี้วัด การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
image
image
งานศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญโดย Albert H. Chen เสนอว่า“ความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชน” เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของศาลรัฐธรรมนูญ
image
หากยึดตามค่านิยมที่ว่า "ยึดหลักนิติธรรม ค้ำจุนประชาธิปไตย ห่วงใยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน"
อาจถึงเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องลองเปิดรับคำวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชน และสำรวจผลของคำวินิจฉัยของตัวเอง ว่าได้ทำตามค่านิยมที่ประกาศไว้หรือไม่ และควรปรับตัวในรูปแบบไหน เพื่อให้เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ที่สังคมไทยต้องการ
Share