ยุติธรรม

ทำ

เมื่อกฎหมาย คุกคาม ประชาชน

hammer star
arrow_circle
เมื่อระบบยุติธรรม
ที่ควรใช้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน
แปรเปลี่ยนเป็นสภาพตรงข้าม
นั่นคือ “ยุติธรรมทำลาย”
ระบบซึ่ง “กฎหมาย”
คุกคาม “ประชาชน”
“ยุติธรรมทำลาย” ทำร้ายคนไทยอย่างไร ?
หาคำตอบและส่งเสียงเพื่อพวกเขาได้ที่นี่

“พวกเขา ผิดอะไร ?”

ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 เป็นต้นมา
ประชาชนถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง
และการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

กว่า 1,750 คน ++

* ข้อมูลช่วงวันที่ 18 ก.ค. 2563 - 27 ม.ค. 2565

ข้อหาหมิ่นประมาท กษัตริย์
(มาตรา 112)

55 คน

ข้อหายุยงปลุกปั่น
(มาตรา 116)

64 คน

ข้อหาประทุษร้าย เสรีภาพพระราชินี
(มาตรา 110)

5 คน

ข้อหามั่วสุมกันใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดการวุ่นวาย
(มาตรา 215)

99 คน

ข้อหาฝ่าฝืน
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

222 คน

ข้อหาฝ่าฝืน
พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ

84 คน

ข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

0 คน

ข้อหาละเมิด อำนาจศาล
(มาตรา 30 - 33)

0 คน

ข้อหาดูหมิ่นศาล
(มาตรา 30 - 33)

0 คน

18 ก.ค. 63

มีประชาชนถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 0 คน (หนึ่งคนถูกดำเนินคดีได้มากกว่า 1 ข้อหา)

ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศจะใช้กฎหมายทุกฉบับทุกมาตราจัดการกับผู้ชุมนุม สถิติผู้ถูกดำเนินคดีตามข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ช่วง 2 เดือนนี้ เพิ่มขึ้นถึงอย่างน้อย 55 คน
สถานการณ์
ช่วงเดือนมกราคม 2564 เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมผู้ชุมนุมค่อนข้างรุนแรง รวมถึงมีการตั้งข้อกล่าวหาย้อนหลังต่อการชุมนุมที่ผ่านไปหลายเดือน
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีรายงานผู้ถูกดำเนินคดีตามข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” เพิ่มขึ้นอีก 5 คน
สถานการณ์
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่เพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยเป็นการใช้กำลังที่เกินกว่าเหตุ และไม่เป็นไปตามหลักการสากล และยังคงมีการตั้งข้อกล่าวหาย้อนหลังต่อการชุมนุมที่ผ่านไปหลายเดือน
ช่วงเดือนมีนาคม 2564 มีการใช้ข้อกล่าวอ้างเรื่อง COVID-19 จับกุมดำเนินคดีผู้ชุมนุมทางการเมือง ทำให้จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 143 คน
สถานการณ์
ตลอดเดือนมีนาคม 2564 มีรายงานผู้ถูกดำเนินคดีตามข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” เพิ่มขึ้นถึง 22 คน
สถานการณ์
ช่วงเดือนเมษายน 2564 ข้อกล่าวหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังถูกนำมาใช้กล่าวหาและดำเนินคดีต่อการจัดกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
ช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ผู้มีอำนาจใช้วิธีการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลที่แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางการเมืองหรือทางสังคมต่าง ๆ ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น รวมถึงข้อหาตาม “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ” มากขึ้น
สถานการณ์
ช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 คดีละเมิดอำนาจศาล และดูหมิ่นศาลเพิ่มขึ้น นับแต่คดีที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาตั้งแต่ต้นปีเริ่มทยอยขึ้นสู่ศาล และเริ่มมีการเรียกร้องความยุติธรรมบริเวณหน้าศาลมากขึ้น โดยนับแต่เริ่มการชุมนุมเยาวชนปลดแอก มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดอำนาจศาลอย่างน้อย 13 ราย และข้อหาดูหมิ่นศาลอย่างน้อย 20 ราย
ช่วงเดือนมิถุนายน 2564 การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือการแพร่ระบาด COVID-19 ยังคงมีอยู่ ข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือดำเนินคดีผู้ชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ถูกดำเนินคดีข้อหานี้ไม่น้อยกว่า 511 ราย
สถานการณ์
ช่วงเดือนมิถุนายน 2564 สถานการณ์การดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาลยังเป็นไปอย่างเข้มข้น โดยนับแต่เริ่มการชุมนุมเยาวชนปลดแอก มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดอำนาจศาลอย่างน้อย 18 ราย และในเดือนนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาดูหมิ่นศาลเพิ่มเติมอีก 4 ราย
ช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือในดำเนินคดีผู้ชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ถูกดำเนินคดีข้อหานี้ไม่น้อยกว่า 549 ราย
สถานการณ์
ช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ยังมีแนวโน้มการดำเนินคดีต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์บุคคลในรัฐบาล หรือข้าราชการผู้ใช้อำนาจรัฐอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นโดยการโฆษณา และดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่
ช่วงเดือนสิงหาคม 2564 มีผู้ถูกดำเนินคดีข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการชุมนุมทางการเมืองเพิ่มขึ้นกว่า 353 ราย รวมแล้วมีผู้ถูกดำเนินคดีข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่น้อยกว่า 902 ราย เป็นยอดที่พุ่งขึ้นจากแต่ละเดือนก่อนหน้านี้หลายเท่า
สถานการณ์
ช่วงเดือนสิงหาคม 2564 เกิดการชุมนุมทางการเมืองรายวัน โดยเฉพาะพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดง นำไปสู่การจับกุมดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ถูกจับกุมจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองไม่น้อยกว่า 298 ราย
ช่วงเดือนกันยายน 2564 มีรายงานผู้ถูกดำเนินคดีตามข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอย่างน้อย 21 ราย
สถานการณ์
ช่วงเดือนกันยายน 2564 เกิดการจับกุมผู้ชุมนุมทางการเมืองรายวัน มีรายงานผู้ถูกจับกุมจากการชุมนุมทางการเมืองไม่น้อยกว่า 269 ราย และการดำเนินคดีต่อการชุมนุมทางการเมืองด้วยข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้จัดและร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบ (Car Mob) เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลายพื้นที่ ถูกดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง
การชุมนุมทางการเมืองยังคงถูกเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดีด้วยข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างต่อเนื่อง มีผู้ถูกกล่าวหาในข้อหานี้ตั้งแต่เริ่มประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่น้อยกว่า 1,337 คนแล้ว
สถานการณ์
ช่วงต้นเดือนตุลาคม 2564 การชุมนุมบริเวณดินแดงที่ยังดำเนินสืบเนื่อง ก่อนค่อย ๆ ลดระดับลงไปในช่วงหลังกลางเดือนเป็นต้นมา แต่ตลอดทั้งเดือนนี้มีรายงานผู้ถูกจับกุมไม่น้อยกว่า 155 ราย
สถานการณ์
ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2564 ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปจนถึงช่วงสิ้นเดือนมกราคม 2565 ทำให้ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่าง ๆ ยังคงถูกบังคับใช้ และสถานการณ์การดำเนินคดีในข้อหานี้ต่อการชุมนุมทางการเมืองก็ยังคงดำเนินต่อไป
สถานการณ์
ช่วงเดือนธันวาคม 2564 การจับกุมผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพฯ และการออกหมายเรียกผู้ชุมนุมกรณีต่าง ๆ ในข้อกล่าวหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแต่ละคดีมีผู้ถูกกล่าวหาเป็นจำนวนมาก

นี่คือเรื่องราวของคนไทยที่เพียงออกมาใช้สิทธิเสรีภาพ
แสดงความเห็นที่พวกเขาเชื่อ เรียกร้องความเป็นธรรมที่พวกเขาหวัง

แต่กลับพบเจอกับ “ยุติธรรมทำลาย”
ระบบซึ่ง “กฎหมาย” กลั่นแกล้ง รังแก และคุกคามชีวิตพวกเขา

@gun_sangtong & iLaw

เมื่อ “กฎหมาย” และ “กระบวนการยุติธรรม”
ถูกใช้เพื่อปิดกั้น หรือกดดันให้ประชาชนหยุดพูด
หรือมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะ

นั่นคือ “ยุติธรรมทำลาย”
ระบบและกลไกที่คุกคามและปิดปากประชาชน

“ยุติธรรมทำลาย”
เป็นอย่างไร ?

เกิดกับ

“ประชาชนที่ชุมนุมและแสดงความเห็นทางการเมือง”

มีการใช้

“กฎหมายเป็นเครื่องมือ
เพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพ”

มาพร้อม

“กระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรม”

“ยุติธรรมทำลาย”
ทำร้าย “คนไทย”
อย่างมากมาย

เสียงจากประชาชน
ผู้ประสบ “ยุติธรรมทำลาย”

Cr.iLaw

"

...การต้องเห็นคนที่รักพลอยเดือดร้อนไปด้วย ทำให้รู้สึกปวดใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยไม่รู้ว่าครอบครัวต้องเผชิญกับอะไรบ้างและไม่สามารถเข้าไปบรรเทาความทุกข์ได้เลย..."

พริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน)

ถูกดำเนินคดีมาตรา 112, 116, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ


"

...ถ้าไปถึงเส้นชัยแล้วไม่เจอผมก็คิดถึงผมหน่อยแล้วกัน หรือถ้าผมไปถึงเส้นชัยแล้วไม่เห็นคุณผมก็จะคิดถึงคุณเหมือนกัน..."

อานนท์ นำภา

ถูกดำเนินคดีมาตรา 112, 116, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ

Cr.iLaw


Cr.iLaw

"

...มันอาจจะมีแวบหนึ่งที่เคยคิดเหมือนกันว่า อยากเลิกแล้ว แต่เราก็รู้สึกผิดทั้งต่อตัวเองและต่อคนอื่นมาก..."

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง)

ถูกดำเนินคดีมาตรา 112, 116, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ


"

หนูไม่ได้กลัวคุกนะพี่ แต่หนูแค่สิ้นหวัง สิ้นหวังในกระบวนการยุติธรรม"

เบนจา อะปัญ

ถูกดำเนินคดีมาตรา 112, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ

Cr.iLaw


Cr.iLaw

"

...ยิ่งถูกจับ หนูยิ่งอยากจะสู้ เพราะไม่อยากให้ใครต้องมาเจอแบบนี้ ไม่อยากให้ใครเข้าเรือนจำหรือถูกเรียกว่านักโทษ.."

ปนัดดา ศิริมาศกูล (ต๋ง ทะลุฟ้า)

ถูกดำเนินคดีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ


"

...เราไม่ได้รู้สึกเสียกำลังใจ ไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันผิด...สิ่งที่เราจะทำต่อไปนี้คือเราจะพูดต่อไปเรื่อย ๆ..."

สุพิชฌาย์ ชัยล้อม (เมนู)

ถูกดำเนินคดีมาตรา 112, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ

Cr.way magazine


Cr.prachatai

"

นอกจากรอว่าเวลาจะอยู่ข้างเราแล้ว ควรทำทุกอย่าง แม้ไม่เห็นปลายทางว่าจะเป็นเช่นไรก็ตาม"

ขนุน (ภาคีนักเรียน KKC)

ถูกดำเนินคดีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ


"

ผมออกมาเพราะว่าเห็นความไม่เท่าเทียม ผมเกิดเป็นคนไทยแต่ไม่มีความเท่าเทียม ผมอยากให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยกว่านี้..."

แซม สาแมท (คนไร้สัญชาติ)

ถูกดำเนินคดีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ

Cr.mobdatathailand


Cr.TLHR

"

...ไม่รู้จะเปลี่ยนแปลงได้ช้าได้เร็วเท่าไหร่... เราอาจไปตั้งหลักที่อื่นค่อยกลับมาเคลื่อนไหวหรือจะเลือกสู้อยู่ที่นี่ไปเรื่อย ๆ อันนี้ก็ยังตัดสินใจไม่ได้"

แซน (นามสมมติ) นักเรียนภูเขียว

ถูกดำเนินคดีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ


"

ผมจำไม่ได้ว่าโดนกระทืบไปกี่ครั้ง แต่ที่แน่ ๆ โดนทั้งไม้และรองเท้าคอมแบท"

พัชรพล (สงวนนามสกุล)

ถูกดำเนินคดีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น ๆ

Cr.TLHR

ประเทศไทย กับ “ยุติธรรมทำลาย”
เป็น “ของคู่กัน”

(คลิกที่หนังสือพิมพ์เพื่ออ่านรายละเอียด)

timeline_newspaper

ยังคงอยู่เสมอมา

click

ช่วงรัฐบาล
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ช่วงหลังเหตุการณ์
6 ตุลาคม 2519

ช่วงรัฐบาลประยุทธ์
ที่มาจากการรัฐประหาร

ช่วงรัฐบาลประยุทธ์ที่มาจากการเลือกตั้งด้วยกติกาไม่เป็นธรรม

หากจะกล่าวว่า
“ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย”
“ยุติธรรมทำลาย” ต้องถูกแก้ไขและยับยั้งอย่างจริงจัง

เพื่อไม่ให้เรื่องราวเหล่านี้
เกิดกับคนไทยคนใดอีกต่อไป

การต่อต้าน และยับยั้ง
“ยุติธรรมทำลาย”
เพื่อปกป้อง “สิทธิเสรีภาพ”
ของประชาชนไทย

1
1
1

กิจกรรม "ยืน หยุด ขัง"

การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์จัดโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ด้วยการยืนนิ่ง ๆ ชูสามนิ้วและถือป้ายข้อความเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมทางการเมืองที่โดนจับกุม ซึ่งกิจกรรมนี้ถูกจัดต่อเนื่องติดต่อกันมากกว่า 30 วัน

#ปล่อยเพื่อนเรา

การติดแฮ็ชแท็คใน social media
เพื่อกระจายข่าวสารของการจับกุมและดำเนินคดีนักกิจกรรมทางการเมือง

ความช่วยเหลือทางกฎหมาย

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)
สนับสนุนทนายความช่วยเหลือทางกฎหมายจากสถานการณ์การชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง

ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ร่วมจัดตั้งโดยสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) สนับสนุนความช่วยเหลือ #ราษฎรฟ้องกลับ เพื่อดำเนินคดีเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งใช้อำนาจโดยมิชอบหรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ชุมนุมหรือแสดงออกทางการเมือง

ความช่วยเหลือทางทุนทรัพย์

กองทุนราษฎรประสงค์
สนับสนุนทุนทรัพย์เพื่อการประกันตัวในคดีที่เกี่ยว เนื่องกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง

กองทุนดาตอร์ปิโด
สนับสนุนทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกคุมขังทางการเมืองและการประกันตัวในคดีจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง

การจัดทำข้อมูลและสร้างความตระหนักรู้

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)

จัดทำศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพเพื่อทำหน้าที่ติดตามและบันทึกข้อมูลการใช้กฎหมายและอำนาจรัฐปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออก www.freedom.ilaw.or.th

พัฒนาเว็บไซต์ม็อบดาต้าไทยแลนด์ร่วมกับ Amnesty International Thailand เพื่อเป็นฐานข้อมูลเก็บรวบรวมเหตุการณ์การชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้นและการใช้อำนาจกำกับดูแล คุกคามหรือขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่รัฐ www.mobdatathailand.org

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

จัดทำฐานข้อมูลคดีฟ้องปิดปากในประเทศไทยเพื่อรวบรวมคดีที่เข้าข่ายการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะให้เป็นพื้นที่สำหรับการติดตามและค้นคว้าศึกษา
www.naksit.net

จัดทำสื่อและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ เช่น
  • คู่มือ SLAPPS สำหรับประชาชน
  • เวที ANTI-SLAPP HACKATHON
  • เวทีเสวนา "SLAPP : เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน"

การเสนอร่าง หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกลเสนอชุดร่างกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน จำนวน 5 ฉบับ เข้าสภา ได้แก่

  1. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
  2. ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
  3. ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อสร้างกลไกคุ้มครองประชาชนจากการถูกฟ้อง ‘คดีปิดปาก’ หรือ Anti-SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) Laws
  4. ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อเพิ่มบทลงโทษกรณีเจ้าพนักงานบิดเบือนกฎหมาย ทำให้สามารถเอาผิดเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมที่กระทำการบิดเบือนกฎหมายต่อประชาชนได้
  5. ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. .… ซึ่งเป็นการแก้ไขเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาททั้งหมดทั้งหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป ดูหมิ่นเจ้าพนักงานดูหมิ่นศาล รวมทั้งความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อประกันเสรีภาพในการแสดงออกโดยได้สัดส่วนกับการเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของประมุขของรัฐและบุคคลอื่น สอดคล้องกับหลักสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)

“ยุติธรรมทำลาย”

“ความอยุติธรรม” จากการใช้ “กฎหมาย”
เป็นเครื่องมือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สมควรต้อง “ถูกกำจัด” ไปให้หมดสิ้น

broken_hammer

เพื่อ “ปกป้อง” สิทธิเสรีภาพของคนไทยทุกคน
ในการพูด แสดงความเห็น
และวิพากษ์วิจารณ์ในทางสาธารณะ

ติดตามและสนับสนุนคนทำงาน
เพื่อต่อต้าน “ยุติธรรมทำลาย”

button_left_default

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)

การรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกฎหมาย สิทธิมนุษยชน หลังการรัฐประหารของ คสช. มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกข้อมูลการละเมิด สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายหลังการ รัฐประหาร ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ผู้ได้รับผลกระทบ

มูลนิธิสิทธิเพื่อความยุติธรรม

800-9-54209-4

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาบิ๊กซี ลาดพร้าว 2


สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

การรวมตัวกันของกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความและคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริม หลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งในทางวิชาการ และการใช้มาตรฐานทางกฎหมาย


โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย ประชาชน (iLaw)

องค์กรซึ่งทำงานกับภาคประชาสังคมและ คนทั่วไปในสังคมมีเป้าหมายเพื่อไปให้ถึง หลักการประชาธิปไตยเสรีภาพในการ แสดงออกและระบบยุติธรรมที่เป็นธรรม และตรวจสอบได้กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

button_right_default

กำลังใจสู่ผู้ถูก “ยุติธรรมทำลาย”


ถึง: ประชาชนผู้ทนทุกข์จาก “ยุติธรรมทำลาย”

desktop_paper
(120/120)
เลือกสี :

เมื่อกด “ส่งข้อความ” ข้อความจะถูกส่งไปจัดเก็บไว้กับทางทีมงาน WeVis
เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการให้กำลังใจและเรียกร้องความยุติธรรมแก่ประชาชนผู้ถูกยุติธรรมทำลายทุกคนต่อไป

ร่วมส่งเสียงเพื่อพวกเขา ผ่านการแชร์งานนี้
พร้อมติดแฮ็ชแท็ค

#ยุติธรรมทำลาย

Share

สร้างสรรค์โดย

logo_wevis

สนับสนุนข้อมูลหลักโดย

logo_wevis
pic_footer