คุณรู้ไหม?
ตอนนี้ในรัฐสภามี ส.ส. กี่คน
ตัวเลขที่ผันแปรเหล่านี้
กำลังบอกอะไรเรา ?
ความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หลังสิ้นสุดฤดูกาลเลือกตั้ง
ความไม่คงที่ ของจำนวน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน
แนวโน้ม ของผลการลงมติรับ หรือไม่รับร่างกฎหมาย
ตลอดจนการลงมติหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
และอีกมากมาย …
เมื่อประชาธิปไตยไม่ได้จบแค่การเลือกตั้ง
ขอชวนนั่งไทม์แมชชีน
ไปย้อนรอยหลากปรากฏการณ์
และความเคลื่อนไหว
ผ่านการสำรวจ
การเปลี่ยนแปลงที่นั่งของสภาผู้แทนราษฎรไทย
นับตั้งแต่เปิดสภา พฤษภาคม 2562
เพราะตัวเลขที่นั่งที่เปลี่ยนแปลงไป
สะท้อนอะไรมากกว่า “การโยกย้าย”
มาสำรวจสถิติ
การออกสภา
และการแทนที่
ตลอดสมัยสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 25 กันดีกว่า
ฝ่ายรัฐบาล
ฝ่ายอิสระ
ฝ่ายค้าน
เรียกได้ว่าฝ่ายรัฐบาลสามารถรักษาเก้าอี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
แต่ไม่เพียงเท่านั้น พวกเขายังได้เปรียบไปอีกขั้น
ด้วยการได้ เก้าอี้เสริม มาอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
45 วัน หลังจากทราบผลการเลือกตั้ง
กกต. จึงได้เปิดเผยตัวเลขที่นั่งในสภาออกมา
ผลปรากฏคือ
มีพรรคที่ได้ที่นั่งเพิ่มมาทั้งหมด 12 พรรค
แต่ละพรรคได้ไป 1 ที่นั่ง
หักปากกาบรรดาเซียน
ที่พยายามคำนวณที่นั่ง ส.ส. ไว้ก่อนหน้า
แล้ว 12 เก้าอี้ที่เพิ่มมา
เกื้อหนุน ฝั่งรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน?
การเข้าสภาของ 12 พรรคเล็ก ส่งผลให้ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล พลิกเป็นเสียงข้างมาก
242 คน
246 คน
อย่างไรก็ดี
ลองมาสำรวจสถิติการลงมติของ 12 พรรคเล็ก
ใน
มติที่สำคัญตลอดสมัยสภา
ว่าพวกเขา “เข้าข้าง” หรือ
“ตรงข้าม”
กับฝ่ายรัฐบาล มากน้อยเพียงใด
แต่เกมนี้ซับซ้อนกว่าที่คาด
เมื่อเก้าอี้ มีมากกว่าหนึ่ง
แม้แต่ในพรรคเล็ก
ก็ยังมีบางคราที่ลงมติ ตรงข้าม กับขั้วข้างของตนเอง
นับประสาอะไรกับพรรคที่มีสมาชิกมากหน้าหลายตา
หลากความเห็น หลากจุดยืน ...
แน่นอนว่ามันเป็นไปได้ยาก
ที่ภายในพรรคหนึ่งพรรค
จะออกเสียงตามมติพรรคได้โดยเอกฉันท์
ดังนั้นการโหวตสวนมติพรรค
ของ ส.ส. บางรายจึงปรากฏให้เห็น
บนหน้าข่าวอยู่เรื่อยไป
ซึ่งในหลาย ๆ ครั้ง
การโหวตสวนมติพรรคก็ได้นำไปสู่
“การขับพ้นพรรค”
และ
“การเปลี่ยนขั้วย้ายค่าย”
สร้างตัวเลขที่ไม่หยุดนิ่ง
ต่อจำนวนเก้าอี้ส.ส.ฝ่ายค้าน
และฝ่ายรัฐบาล
ที่มีคนย้ายออกมากที่สุด
/ก้าวไกล
ที่ฝ่ายค้านย้ายเข้ามากที่สุด
ภูมิใจไทย
เกื้อหนุน การลงมติของ “ขั้วรัฐบาล” มากน้อยแค่ไหน ?
มกราคม 2565: พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพปชร.
ได้มีมติให้ขับ 21 ส.ส. “ก๊วนธรรมนัส” ออกจากพรรค
ด้วยเห็นว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
มีเหตุแห่งความร้ายแรงของพรรค ที่เกิดจากคนทั้ง 21 คน
โดยในเวลาต่อมา
ร.อ. ธรรมนัสได้นำทีม 18 ส.ส.
เข้าสังกัด พรรคเศรษฐกิจไทย
ซึ่งมิได้ประกาศขั้วข้างของตนอย่างแน่ชัด
ในขณะที่อีก 3 ส.ส. ได้เข้าสังกัด
พรรคภูมิใจไทย
ตามที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้
แน่นอนว่าด้วยฐานะ
“อดีต” คนใกล้ชิดของ
หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
การวางตัวเป็น “ฝ่ายอิสระ”
ของพรรคเศรษฐกิจไทย
ซึ่งนำโดย ร.อ. ธรรมนัส
จึงเป็นที่น่าจับตามอง
อย่างยิ่ง
ว่าพวกเขา “เข้าข้าง” หรือ “ตรงข้าม” กับ ฝ่ายรัฐบาล มากน้อยเพียงใด
เดินทางมาไกลกันจนถึงปีสุดท้ายของสมัยสภา
แต่ เกมเก้าอี้ดนตรี ที่ไม่เคยหยุดนิ่งนี้
จะยังคงสร้าง แรงกระเพื่อม ต่อการเมืองไทยต่อไป
ร่วมจับตาดูความเคลื่อนไหวในสภาอย่างต่อเนื่อง
ก่อนเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งถัดไปที่จะเกิดขึ้นในปี 2566
ติดตามการลงมติในสภาเพิ่มเติมได้ที่
ใครเป็นใคร เคยทำอะไรมาบ้าง ตอนนี้อยู่ตำแหน่งไหน และยกมือสนับสนุนอะไรในสภา