POLITICS ON SOCIAL
ส่องเพจพรรค
การเมืองถูกสื่อสารทางออนไลน์อย่างไร ?
เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พ.ค. 62 - 31 ส.ค. 65
พลังประชารัฐ
จำนวนผู้ติดตาม (K)
304
4.4
1.7
ภูมิใจไทย
จำนวนผู้ติดตาม (K)
119
12.4
ประชาธิปัตย์
จำนวนผู้ติดตาม (K)
793
61.6
เพื่อไทย
จำนวนผู้ติดตาม (K)
759
250.9
137
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
จำนวนผู้ติดตาม (K)
558
396.8
45.9
เสรีรวมไทย
จำนวนผู้ติดตาม (K)
211
20.9
Social Media คือหนึ่งช่องทางสำคัญที่พรรคการเมืองใช้สื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ถึงประชาชนได้รวดเร็ว โดยพรรคการเมืองแต่ละพรรคมีช่องทางออนไลน์สำหรับการสื่อสารทางการเมืองที่ต่างกันออกไป
ขอชวนร่วมเดินทางผ่านช่องทางออนไลน์ 3 ทางหลักของบรรดาพรรคการเมือง เพื่อทำความรู้จักตัวตนของ 3 พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และ 3 พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่มี ส.ส. ในสภามากที่สุด ซึ่งถูกแสดงผ่านโลกออนไลน์ผ่าน 3 ประเด็นหลักที่น่าสนใจ
หมายเหตุ :
เนื่องจากพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค และมีการตั้งพรรคใหม่เป็นพรรคก้าวไกล ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จึงใช้ข้อมูลจาก account ของพรรคอนาคตใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 62 - 29 ก.พ. 63 ประกอบกับข้อมูลของ account พรรคก้าวไกล ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 65
1
พรรคขยันสื่อสาร
ทางออนไลน์
แค่ไหน
จำนวนโพสต์ในแต่ละวันจาก
ฝ่ายรัฐบาล
พลังประชารัฐ
พลังประชารัฐ
เฉลี่ย
5.42
โพสต์/วัน
ภูมิใจไทย
ภูมิใจไทย
เฉลี่ย
3.96
โพสต์/วัน
ประชาธิปัตย์
ประชาธิปัตย์
เฉลี่ย
17.72
โพสต์/วัน
ฝ่ายค้าน
เพื่อไทย
เพื่อไทย
เฉลี่ย
15.05
โพสต์/วัน
ก้าวไกล
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
เฉลี่ย
11.31
โพสต์/วัน
เสรีรวมไทย
เสรีรวมไทย
เฉลี่ย
2.21
โพสต์/วัน
5 วันที่แต่ละพรรคขยันโพสต์ที่สุด
สะท้อนตัวอย่างวาระที่พรรคสื่อสารมากบนโลกออนไลน์
ความเข้มสีเขียว แสดงจำนวนโพสต์/วัน
= จำนวนโพสต์/วัน ที่น้อยที่สุดของพรรค
= จำนวนโพสต์/วัน ที่มากที่สุดของพรรค
พลังประชารัฐ
min: 0
max: 73
+ อ่านรายละเอียด
ภูมิใจไทย
min: 0
max: 32
+ อ่านรายละเอียด
ประชาธิปัตย์
min: 0
max: 82
+ อ่านรายละเอียด
เพื่อไทย
min: 0
max: 141
+ อ่านรายละเอียด
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
min: 0
max: 151
+ อ่านรายละเอียด
เสรีรวมไทย
min: 0
max: 38
+ อ่านรายละเอียด
2
พรรคขยันสื่อสาร
เรื่องอะไร
ด้านภาพ
First Impression
ภาพปก (พิจารณาเฉพาะทาง Facebook เพราะเป็นช่องทางที่ทุกพรรคมี) เป็นสิ่งแรกที่ทุกคนต้องเห็นเมื่อเข้ามาดูเพจของแต่ละพรรคการเมือง สิ่งนี้อาจเปรียบเสมือนป้ายไวนิลที่ถูกแขวนไว้หน้าอาคารที่ทำการพรรค ซึ่งสะท้อนว่า ในแต่ละช่วงเวลา พรรคส่งข้อความอะไรออกมาบ้าง ผ่านภาพที่แสดงให้เห็นเหล่านี้
ภาพปก Facebook
ด้านเนื้อหา
ประเด็นที่เป็นกระแสสังคมถูกพูดถึงในสัดส่วนมากน้อยแค่ไหน
สัดส่วนโพสต์ที่สื่อสารแต่ละประเด็น สะท้อนว่าพรรคให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร ซึ่งจาก 6 ประเด็นที่ Wevis คัดเลือกมา
ตามหัวข้อที่เคยเห็นว่าถูกพูดถึงในโลกออนไลน์และออฟไลน์ค่อนข้างมาก พบว่า
โควิดและเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลักที่ทุกพรรคนำเสนอ ส่วนประเด็นรองนั้นแตกต่างกันไป เช่น
พรรคภูมิใจไทยกับเรื่องกัญชา หรือพรรคเพื่อไทยกับเรื่องการชุมนุม
ขณะที่พรรคก้าวไกลสื่อสารเกือบทุกประเด็นในสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมาก
น่าสนใจว่าความเท่าเทียมทางเพศเป็นประเด็นที่ไม่ถูกพูดถึงเลยจากพรรคภูมิใจไทย และเสรีรวมไทย
covid
โควิด
economic
เศรษฐกิจ
ganja
กัญชา
lgbtq
ความเท่าเทียมทางเพศ
movement
การชุมนุม
royal
สถาบันพระมหากษัตริย์
คำนวณ % จากจำนวนโพสต์ที่ในแคปชันมี
คีย์เวิร์ด
ที่เกี่ยวของกับแต่ละประเด็น ต่อจำนวนโพสต์ทั้งหมดของแต่ละพรรค โดย 1 โพสต์สามารถมีได้มากกว่า 1 ประเด็น
ฝ่ายรัฐบาล
พลังประชารัฐ
palangpracharat
ภูมิใจไทย
phumjaithai
ประชาธิปัตย์
prachatipat
ฝ่ายค้าน
เพื่อไทย
puerthai
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
kawklai
เสรีรวมไทย
seriruamthai
โพสต์เกี่ยวกับ
ที่ได้รับความสนใจสูงของแต่ละพรรค
พลังประชารัฐ
8 เม.ย. 2020
ขอเถอะนะ ! อย่าโพสต์สร้างความแตกแยก ซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 ให้เลวร้ายลงไปอีกเลย เพราะรัฐบาลอยากให้เงินก้อนนี้ตกไปถึงมือคนที่เขาเดือดร้อนจริง ๆ การกระทำในลักษณะนี้หากจะว่าไป ก็มีความผิดตามกฎหมาย อยู่ 2 กรณี คือ … 1.ใครก็ตามที่ไม่ได้รับเงินชดเชย 5,000 บาทจริง แต่แกล้งโพสต์ว่าได้รับ เพื่อจุดประสงค์สร้างความแตกแยก กระทรวงการคลัง จะส่งข้อมูลให้ศูนย์เฟกนิวส์ฟ้องดำเนินคดี ฐานนำเข้าข้อมูลเท็จ โทษมีทั้งจำคุก และปรับเงิน 2.ส่วนคนได้รับเงินจริง แต่โพสต์อวดในทำนองได้มาแบบฟลุ๊ค ๆ ลงไปงั้นๆ ชีวิตไม่เดือดร้อน ก็จะต้องถูกตรวจสอบย้อนหลังตามความยินยอมที่ระบุไว้ระหว่างการลงทะเบียน และหากพบว่ากรอกข้อมูลเท็จ ก็จะมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ มีโทษทั้งจำคุกและปรับเช่นกัน และต้องส่งเงินคืนให้คลังภายใน 90 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐบาลก็ไม่ต้องการที่จะเอาผิดกับใครในสภาวะแบบนี้ เพราะเข้าใจถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นอย่างดี ดังนั้น เพียงแต่ขอร้องว่าอย่าทำแบบนี้ ... อย่าซ้ำเติมกันเอง อย่าซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงไป เพราะขณะนี้เป็นเวลาที่เราทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกัน ฟันฝ่าปัญหาระดับโลกนี้ไปให้ได้ !! #เราไม่ทิ้งกัน #เงินชดเชยโควิด-19 #ประเทศไทยต้องชนะ
12453
Engagement
5789 reactions + 3527 comments + 3137 shares
ภูมิใจไทย
22 ธ.ค. 2020
ฉันติดหรือยัง? สำรวจความเสี่ยงโควิด-19 ด้วยตนเอง #สาธารณสุข #โควิด19 #การ์ดอย่าตก #คนภูมิใจไทย
25400
Engagement
23141 reactions + 303 comments + 1956 shares
ประชาธิปัตย์
15 พ.ค. 2020
ผลโพล ปชช. ถูกใจเงินเยียวยาจาก ก.เกษตรฯ . ผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความสุขเกษตรกร กรณีการแจกเงินเยียวยาของกระทรวงเกษตรช่วงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษาเกษตรกรทั่วประเทศ จำนวน 1,124 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 11-15 พ.ค.ที่ผ่านมา . พบเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 95.5 ถูกใจมาตรการแจกเงินเยียวยาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วงโควิด-19 . นอกจากนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 94.1 ยังระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงเป็นที่พึ่งของเกษตรกร เมื่อสอบถามถึงการรับรู้ต่อพรรคประชาธิปัตย์ ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการแจกเงินเยียวยาเกษตรกรช่วงโควิด-19 พบเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1 รับรู้ อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.democrat.or.th/newsDetail/1764 #DemocratPartyTH #พรรคประชาธิปัตย์
10418
Engagement
10000 reactions + 305 comments + 113 shares
เพื่อไทย
6 ก.ค. 2021
วิกฤตโควิด-19 ประเทศไทยกำลังดิ่งเหว ต้องหาทางออก ก่อนถึงทางตัน . ‘นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว’ ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ชี้สัญญาณประเทศไทยกำลังจะตกเหว จากการที่ ศบค. ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ โดยเฉพาะสัญญาณในทางการแพทย์ ที่จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงมาก จนน่ากังวลว่าระบบสาธารณสุขของไทยอาจล่มสลาย จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นจนเกินศักยภาพของระบบบริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ระบาดคุมเข้มสูงสุด เหล่านี้คือสัญญาณอันตราย ! ขณะที่ รัฐบาล และ ศบค. ยังไม่สามารถจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อมาฉีดให้ประชาชนได้ ฟังกันชัดๆ จาก ‘นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว’ อีกครั้ง ว่าเพราะเหตุใด จึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยจะต้องพิจารณาใช้มาตรการทางกฎหมาย เอาผิดรัฐบาลที่ไร้ประสิทธิภาพ บริหารประเทศล้มเหลว ผิดพลาด จนพี่น้องประชาชนต้องยากลำบาก ต้องเผชิญกับทั้งวิกฤตสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจ
274650
Engagement
211586 reactions + 5454 comments + 57610 shares
ก้าวไกล
6 ก.ค. 2021
ส.ส. เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร - Taopiphop Limjittrakorn ลั่นกลางสภา! อยากให้ประยุทธ์เอามือถือผมไปใช้สักวันหนึ่ง จะได้รู้ว่าประชาชนเดือดร้อนถึงขั้นล้มตายกันไปมากเพียงใดในวิกฤตครั้งนี้!! . #ก้าวไกล #ประชุมสภา #โควิด
171948
Engagement
147443 reactions + 1776 comments + 22729 shares
เสรีรวมไทย
10 ก.ค. 2021
แคมเปญ "มอบ 157 ให้นายกฯ" “จ่ายซื้อวัคซีน ตรวจโควิด ซื้อหน้ากาก“นำใบเสร็จเข้าแจ้งความดำเนินคดีนายกฯ ตาม ม.157 ด้วยตนเอง ที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน เหตุทำให้ประขาชนถูกละเมิดสิทธิ ในการได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย "ประชาชนต้องชนะ" #ต่างกรรมต่างวาระ #ให้นายกไทยมีคดีมากที่สุดในโลก
21943
Engagement
20876 reactions + 342 comments + 725 shares
ด้านบุคคล
สมาชิกได้พื้นที่สื่อในพรรคมากน้อยเพียงใด
เมื่อพิจารณารายชื่อ 5 สมาชิกคนสำคัญที่ได้พื้นที่ในการสื่อสารจากพรรคมากที่สุด พบว่า
ทุกพรรคให้พื้นที่หัวหน้าพรรคมากเป็นอันดับแรก แต่ให้ในสัดส่วนที่ต่างกัน
พรรคเสรีรวมไทย พรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคผูกขาดพื้นที่สื่อของพรรคอย่างเห็นได้ชัด
ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล พื้นที่สื่อถูกระจายไปให้สมาชิกคนอื่น
ในสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมาก
คำนวณ % จากจำนวนโพสต์ที่ในแคปชันมี
ชื่อ-นามสกุลสมาชิกพรรคตำแหน่งสำคัญ
ต่อจำนวนโพสต์ทั้งหมดของแต่ละพรรค โดย 1 โพสต์สามารถมีได้มากกว่า 1 ชื่อ
คลิกที่รูป เพื่อดูตัวอย่างโพสต์ที่ได้รับความสนใจสูง
ฝ่ายรัฐบาล
พลังประชารัฐ
palangpracharat
ภูมิใจไทย
phumjaithai
ประชาธิปัตย์
prachatipat
ฝ่ายค้าน
เพื่อไทย
puerthai
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
kawklai
เสรีรวมไทย
seriruamthai
ด้านคู่แข่ง
แต่ละพรรคพาดพิงกันอย่างไร
ในการสื่อสารทางการเมือง ย่อมต้องมีการพูดถึงพรรคข้างเคียงที่ทำงานในสภาด้วยกันอยู่เสมอ
โดยพรรคฝ่ายค้านมักเป็นฝ่ายพาดพิงพรรคฝ่ายรัฐบาล ขณะที่พรรคฝ่ายรัฐบาลมักพูดถึงกันเอง
ด้วยธรรมชาติการทำงานของแต่ละฝ่ายในสภา พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่ถูกพาดพิงมากที่สุดจากทุกฝ่าย
คำนวณ % จากจำนวนโพสต์ที่ในแคปชันมี
ชื่อพรรค หรือชื่อ-นามสกุลสมาชิกตำแหน่งสำคัญของพรรคอื่น
ต่อจำนวนโพสต์ทั้งหมดของแต่ละพรรค
พรรคที่โพสต์
พรรคที่ถูกพูดถึง
ตัวอย่างโพสต์ที่ได้รับความสนใจสูงของ
พูดถึงพลังประชารัฐ
เพื่อไทย
9 มิ.ย. 2021
ประยุทธ์คิดอะไรไม่ออก ตอบไม่ถูก #โทษคนอื่นเก่ง ต้องงัดไม้ตาย โยนความผิดไปให้ ‘จำนำข้าว’ จนชาวบ้านเอือมระอากันไปหมดแล้ว! . สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม และประธานวิปฝ่ายค้าน จัดหนัก จัดเต็ม อบรมผู้นำรัฐบาลประยุทธ์ ตั้งแต่หลักการสำคัญของนโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน กระบวนการทำงานและระบบของจำนำข้าวกับการหมุนเวียนของเม็ดเงินและเศรษฐกิจประเทศ แต่ต้องมาชะงักเพราะการรัฐประหารปี 2557 . รวมไปถึง ‘ความจริง’ ของเรื่อง หนี้สาธารณะจากจำนำข้าว กับหนี้จำนวนมหาศาลที่ พลเอกประยุทธ์ ได้สร้างเอาไว้ตลอด 7 ปีที่เข้ามาบริหารประเทศ . รับชมและรับฟัง ‘ความจริง’ กันอีกครั้ง จาก ‘สุทิน คลังแสง’ ในการ อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2565
161311
Engagement
129495 reactions + 4258 comments + 27558 shares
พูดถึงภูมิใจไทย
เพื่อไทย
1 ก.ย. 2021
ขยี้ ‘ประยุทธ์’ และ ‘อนุทิน’ กลางสภา จี้ให้เปิดข้อมูลหลักฐานการจัดหาวัคซีน เปิดเผย ‘ส่วนต่าง’ ที่ผิดปกติ ตามที่ ‘เลขาพรรคเพื่อไทย’ อภิปรายไม่ไว้วางใจไว้ในวันแรก . จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย เจ้าของฉายา 'รอยยิ้มประหาร' อภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแก้ไขวิกฤตโควิด-19 ผิดพลาด สร้างความเสียหายมหาศาล อีกทั้งยังเปิดหลักฐานชำแหละพวกมือถือสากปากถือศีล สวดมนต์ทุกวัน แต่กลับมีพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นการค้าความตาย บนซากศพของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะความผิดปกติในจัดหาวัคซีน ที่เห็นร่องรอยส่วนต่างกว่า 1.6 พันล้านบาท . พรรคเพื่อไทย ชวนพี่น้องประชาชน “ลงมติประชาชน รวมพล #ไล่ประยุทธ์” ร่วมลงชื่อโหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาล ผ่าน https://vote.ptp.or.th
23080
Engagement
19829 reactions + 829 comments + 2422 shares
พูดถึงประชาธิปัตย์
เพื่อไทย
8 ธ.ค. 2021
วันนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ณ ขณะนั้น) ประกาศยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ตามกติกาประชาธิปไตยสากล หลังการชุมนุมของ ‘ กปปส.' (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ที่นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นใบเบิกทางให้กับการรัฐประหาร ในนาม ‘คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)’ ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปี 2557 . ย้อนกลับไปก่อนที่ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ จะประกาศยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองค่อนข้างร้อนระอุ นับตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เริ่มบริหารงาน ประชาชนบางส่วนแสดงท่าทีไม่พอใจมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ได้ชิงจังหวะประกาศชุมนุมใหญ่ครั้งแรก ในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 บริเวณสถานีรถไฟสามเสน โดยอ้างต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมและคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาวุฒิสภา พร้อมใช้ ‘การเป่านกหวีด’ เป็นสัญลักษณ์ในการประท้วงครั้งนี้ . ก่อนจะยกระดับเป็น ‘กปปส.’ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ จัดตั้งสภาประชาชนเพื่อควบคุมการปฏิรูปประเทศ และ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องลาออกจากการเป็นหัวหน้ารัฐบาล เพื่อนำไปสู่การเสนอชื่อ ‘นายกฯ’ คนใหม่ โดยอ้างประเพณีการปกครอง มาตรา 3 และ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2550 . ห้วงเวลานั้น ประชาชนจำนวนมากพากันเดินลงถนน เป่านกหวีดเพื่อเรียกร้องตามข้อเสนอของแกนนำ กปปส. แม้รัฐบาลในขณะนั้นจะถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมปรองดองที่ค้างวาระอยู่ในสภาทั้งหมด รวมถึงมีความพยายามที่จะเจรจาหาทางออกร่วมกับ กปปส. แต่ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากข้อเรียกร้องต่างๆ ของกปปส. นั้นไม่ตรงกับข้อกฎหมาย . เมื่อการเจรจาไม่ได้ช่วยทุเลาความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างทางยังคงมีการยกระดับการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บ้างส่วนได้เคลื่อนมวลชนปิดล้อมสถานที่ราชการหลายแห่ง โดยมีแกนนำสำคัญอย่าง สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศจัดชุมนุมใหญ่ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556, วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556, วันที่ 1 ธันวาคม 2556 และวันที่ 9 ธันวาคม 2556 . 8 ธันวาคม 2556 พรรคประชาธิปัตย์เริ่มเคลื่อนไหว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำลูกพรรคแถลงลาออกจากการเป็น ส.ส. ทั้งหมด เพื่อเข้าร่วมนำม็อบ กปปส. โดยตรง สร้างแรงกดดันอีกทางให้รัฐบาลลาออก และเปิดทางให้นายกฯ คนกลางเข้ามาทำหน้าที่แทน ขณะที่ฝากฝั่งหน้าเพจเฟซบุ๊คของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้แสดงจุดยืนพร้อมจะยุบสภา เตรียมจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน แต่หากมีผู้ไม่ยอมรับการเลือกตั้งก็จะเป็นการยืดเวลาขัดแย้งออกไป เหมือนปี 2549 ที่เกิดภาวะสูญญากาศและเกิดการรัฐประหารตามมา จึงได้เสนอให้หาข้อยุติด้วยการทำประชามติ . 9 ธันวาคม 2556 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้แถลงการณ์ยุบสภา ส่งผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งไปด้วยมาตรา 180 (2) แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในมาตราดังกล่าว และประกาศวันเลือกตั้งใหม่เป็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 . สิ้นสุดแถลงการณ์ยุบสภา #ณวันนั้น รัฐบาลยิ่งลักษณ์ หมดวาระการทำงาน นับเป็นการยุบสภาครั้งที่ 14 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ถึงอย่างนั้น ท่าทีของ กปปส. ไม่ได้จบลงตาม แกนนำและผู้ชุมนุมยังคงยืนกรานให้มีการจัดตั้งสภาประชาชน ปฏิเสธการเลือกตั้ง และรณรงค์ไม่ให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง จนเป็นเหตุให้เกิดการขัดขวางการเลือกตั้ง มาตั้งแต่เปิดให้มีการสมัครรับเลือกตั้ง จนถึงวันที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ประชาชนบางส่วนที่ต้องการใช้สิทธิใช้เสียงของตัวเองไม่สามารถใช้ได้ ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยให้การเลือกตั้งในวันนั้นเป็นโมฆะและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติ 6 ต่อ 3 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 . สามเดือนหลังจากนั้น กปปส. จึงยุติการชุมนุม หลังจากกลุ่มคณะรัฐประหารในนาม ‘คณะรักษาความสงบแห่งชาติ’ นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ายึดอำนาจสำเร็จ จนอาจกล่าวได้ว่าการชุมนุมประท้วงครั้งนั้น ถือเป็นใบเบิกทางชั้นดีให้กับการรัฐประหาร และนับเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยครั้งสำคัญอีกครั้ง . เพราะหลังจากนั้นประชาธิปไตยไทยได้ถูกทำลายและสูญหายไปตลอด 8 ปีที่ผ่านมา
13267
Engagement
11697 reactions + 318 comments + 1252 shares
พูดถึงอนาคตใหม่/ก้าวไกล
เพื่อไทย
26 พ.ค. 2022
พรรคเพื่อไทย นำโดย ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมาและเลขาธิการพรรคเพื่อไทย วิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาค กทม. และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ส.ก. และว่าที่ ส.ก. 20 คนของพรรคเพื่อไทย ร่วมกับแกนนำพรรคก้าวไกล นำโดย ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล และนายวิโรจน์ ลักษขณาอดิศร อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.พรรคก้าวไกล แถลงความร่วมมือระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลในการทำงานร่วมกันในสภา กทม. หลังจากได้มีการหารือและมีข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้ . 1. ส.ก. จากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล จะร่วมกันทำงานเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และความโปร่งใส ของสภากรุงเทพฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ . 2.หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ให้การรับรองผลการเลือกตั้ง ในการร่วมกันทำงานตามข้อหนึ่ง ส.ก. ทั้งสองพรรค จะร่วมกันเห็นชอบในการลงมติเพื่อเลือกประธานสภา กทม. และรองประธานสภาฯ เพื่อให้การทำงานมีเอกภาพ โดยการแบ่งหน้าที่ต่างๆ ต้องเป็นไปอย่างความเหมาะสม โดยคำนึงถึง ส.ก.ทุกคน ในการทำงาน เพื่อควบคุม ตรวจสอบ และ ดูแลการบริหารราชการ กทม. ของฝ่ายบริหาร ที่มี ผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้บริหาร . 3.ส.ก.จากทั้งสองพรรค จะร่วมกันเห็นชอบให้มีการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภา เพื่อให้มีการตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อทำให้การบริหารของ กทม.เป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส ตอบสนองประโยชน์ของชาว กทม. อย่างแท้จริง . 4. ส.ก. ทั้งสองพรรค จะร่วมกันเห็นชอบให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมสภา กทม. ทั้งนี้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อความโปร่งใสในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อให้ภาคประชาชน สามารถตรวจสอบการทำงานของสมาชิกสภาได้ . ทั้งนี้ ส.ก. จากทั้งสองพรรค มุ่งหวังที่จะทุ่มเทการทำงานให้กับประชาชนชาว กทม. อย่างเต็มที่ และเพื่อยกระดับการทำงานของสภา กมท. ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนชาว กทม. ทุกคนต่อไป
11360
Engagement
10553 reactions + 440 comments + 367 shares
พูดถึงเสรีรวมไทย
เพื่อไทย
25 พ.ย. 2019
7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย และนายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ประชุมร่วมกันเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและทิศทางการทำงานร่วมกันในอนาคต รวมถึงร่วมหารือกันในประเด็นท่าทีของฝ่ายค้านต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ยุทธศาสตร์และท่าทีการขับเคลื่อนใน กมธ. ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญของ 7 พรรคฝ่ายค้านนอกสภาฯ ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์ กรุงเทพฯ
7168
Engagement
6790 reactions + 237 comments + 141 shares
3
กระแสตอบรับที่พรรคได้รับ
มาดูกันว่าสิ่งที่พรรคให้ความสำคัญนั้น สอดคล้องกับความสนใจของชาวโซเชียลหรือไม่
วิธีอ่าน
จำนวนโพสต์ที่พรรค
พูดถึงแต่ละเรื่อง
เรียงจากมากไปน้อย
vs.
จำนวนengagement*
เฉลี่ยต่อ 1 โพสต์
เรียงจากมากไปน้อย
ถ้าอยู่ลำดับเดียวกัน แปลว่าสอดคล้องกัน
*หมายเหตุ : จำนวน engagement = like + comment + share ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งแง่บวกและลบ
ด้านเนื้อหา
ฝ่ายรัฐบาล
พลังประชารัฐ
พลังประชารัฐ
/topic/palangpracharat.png
ภูมิใจไทย
ภูมิใจไทย
/topic/phumjaithai.png
ประชาธิปัตย์
ประชาธิปัตย์
/topic/prachatipat.png
ฝ่ายค้าน
เพื่อไทย
เพื่อไทย
/topic/puerthai.png
ก้าวไกล
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
/topic/kawklai.png
เสรีรวมไทย
เสรีรวมไทย
/topic/seriruamthai.png
ด้านบุคคล
ฝ่ายรัฐบาล
พลังประชารัฐ
พลังประชารัฐ
/member/palangpracharat.png
ภูมิใจไทย
ภูมิใจไทย
/member/phumjaithai.png
ประชาธิปัตย์
ประชาธิปัตย์
/member/prachatipat.png
ฝ่ายค้าน
เพื่อไทย
เพื่อไทย
/member/puerthai.png
ก้าวไกล
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
/member/kawklai.png
เสรีรวมไทย
เสรีรวมไทย
/member/seriruamthai.png
ด้านคู่แข่ง
ฝ่ายรัฐบาล
พลังประชารัฐ
พลังประชารัฐ
/competitor/palangpracharat.png
ภูมิใจไทย
ภูมิใจไทย
/competitor/phumjaithai.png
ประชาธิปัตย์
ประชาธิปัตย์
/competitor/prachatipat.png
ฝ่ายค้าน
เพื่อไทย
เพื่อไทย
/competitor/puerthai.png
ก้าวไกล
อนาคตใหม่/ก้าวไกล
/competitor/kawklai.png
เสรีรวมไทย
เสรีรวมไทย
/competitor/seriruamthai.png
การสื่อสารทางการเมืองผ่านช่องทางออนไลน์ของพรรคการเมือง แสดงให้เห็นได้ว่า
แต่ละพรรคต้องการสร้างตัวตนแบบใดให้สังคมออนไลน์ได้เห็น
รวมถึงต้องการสื่อสารในเรื่องใดให้ประชาชนในโลกออนไลน์ได้รับรู้และจดจำ
ซึ่งเชื่อมโยงกับตัวตนและการสื่อสารในโลกแห่งความเป็นจริงของพรรคการเมืองเช่นกัน
Share
ค้นหา insight อื่น ๆ ด้วยตัวเองได้ที่
Methodology
ข้อมูลชุดนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Wisesight
โดยเป็นข้อมูลที่เป็นโพสต์จากบัญชีอย่างเป็นทางการของพรรคการเมืองทั้งหมด 6 พรรค
(โดยรวมอนาคตใหม่และก้าวไกลเข้าด้วยกัน) คือ ประชาธิปัตย์, พลังประชารัฐ, เพื่อไทย, ภูมิใจไทย, เสรีรวมไทย,
และอนาคตใหม่รวมกับก้าวไกล จากช่องทาง Facebook, Twitter, YouTube ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2565
This information is gathered from Wisesight`s database, which includes posts made from the official Facebook, Twitter, and YouTube accounts of all six Thai political parties (Democrat, Palang Pracharath, Pheu Thai, Bhumjaithai, Thai Liberal, Kao Klai and Future Forward) between May 1, 2019, and August 31, 2022
Data by
Story by