Content by

,

4 ปีผ่านมา.. พรรคการเมืองทำตามคำสัญญาได้แค่ไหน?

สรุปการดำเนินการตามคำสัญญาของพรรคการเมืองที่ให้ไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งปี 2562


ใกล้จบวาระการทำงานของสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 2562 แล้ว จากคำสัญญามากมายที่ให้ไว้ (ที่หายไปก็มี) พวกเราได้พยายามติดตามการดำเนินงานของทุกพรรค ในฐานะที่อาสามาเป็น ‘ผู้แทน’ ประชาชนตลอด 4 ปีที่ผ่านมา

หมายเหตุ: ข้อมูลในเว็บไซต์นี้ เป็นการรวบรวมคำสัญญาใช้หาเสียงเลือกตั้ง 2562 และมีข้อมูลเป็นคำสัญญามีการบันทึกไว้ พร้อมทำการติดตามข้อมูลจากข่าวการเมืองและข้อมูลจากรัฐสภา หากต้องการแจ้งคำสัญญาที่ต้องการให้ติดตามเพิ่มเติมหรือมีข้อมูลที่อยากแจ้งอัพเดท สามารถแจ้งได้ในฟอร์มนี้ https://forms.gle/zBXfyLsErdf7CDXc8

สัญญา.. มีไว้ใช้แค่หาเสียง?

329 คำสัญญาจาก 27 พรรคที่ได้เข้าไปนั่งในสภาฯ ทำได้ตามที่พูดเพียง 8 เรื่อง


คำสัญญาที่ทุกพรรคให้ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นประเด็นเกี่ยวกับ คุณภาพชีวิต เนื่องจากเป็นเรื่องปากท้อง การยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสถานะไม่พบความเคลื่อนไหว (238 คำสัญญา) และบ้างก็ถูกระงับ (30 คำสัญญา) เห็นผลงานแบบนี้ ถึงขนาดต้องเอียงคอมองบนว่า ตกลงใส่ใจปากท้องพวกเรากันจริงไหม?

และตามความคาดหวังของประชาชน พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกเป็น “รัฐบาลหรือร่วมรัฐบาล” ควรจะมีโอกาสผลักดันคำสัญญาของตนได้มากที่สุด ส่วนพรรค “ฝ่ายค้าน” เอง นอกจากจะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลแล้ว พวกเราก็หวังด้วยว่า ควรมีส่วนช่วยผลักดันคำสัญญาที่ให้ไว้ อย่างน้อยไปถึงขั้นที่ถูกเสนอหรือยื่นร่างกฎหมายต่อสภาฯ ได้เช่นกัน 

ใครทำอะไรได้แค่ไหน.. ไปดูกัน!


ทวงถามฝ่ายรัฐบาล 4 ปีที่ผ่านมา.. ทำตามคำสัญญาได้แค่ไหน?

8 นโยบายหาเสียงที่สำเร็จใน 4 ปีนี้ มีแต่คำสัญญาของพรรค “รัฐบาลหรือร่วมรัฐบาล” ตามที่คาดการณ์ไว้ แต่เมื่อดูจำนวนที่สัญญาทั้งหมดที่ให้กันไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้ง ก็น่าผิดหวังอยู่ไม่น้อย


พรรคภูมิใจไทย : ทำสำเร็จ 3 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 17 คำสัญญา

พรรคประชาธิปัตย์ : ทำสำเร็จ 3 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 35 คำสัญญา 

พรรคพลังประชารัฐ : ทำสำเร็จ 2 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 24 คำสัญญา

7 พรรค (ที่อุตส่าห์ได้) ร่วมรัฐบาล กับคำสัญญาที่ ‘ไม่พบความเคลื่อนไหว’

  • พลังไทยรักไทย
  • ประชาธิปไตยใหม่
  • เศรษฐกิจใหม่
  • ครูไทยเพื่อประชาชน
  • พลเมืองไทย
  • รักษ์ผืนป่าประเทศไทย
  • ไทรักธรรม

ยังมีคำสัญญาอีกมากมายที่พรรคเหล่านี้ยังติดค้างประชาชนไว้ ไปช่วยกันแชร์ทวงสัญญาได้ที่ https://promisetracker.wevis.info/


(ยัง) หวังได้แค่ไหนกับพรรคเหล่านี้?

4 ปีที่ผ่านมา กับพรรคที่คำสัญญาส่วนใหญ่ ‘กำลังดำเนินการ’

อาจจะพอเป็นความหวังได้ (มั้ง) สำหรับประชาชนชาวไทย ว่าต่อให้นโยบายทั้งหลายที่พรรคการเมืองให้ไว้ในตอนหาเสียง ไม่ได้สำเร็จตามที่พูดเอาไว้ อย่างน้อยก็ยังได้เริ่มเห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

พรรคภูมิใจไทย : กำลังดำเนินการ 8 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 17 คำสัญญา

พรรคพลังประชารัฐ : กำลังดำเนินการ 8 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 24 คำสัญญา

พรรคพลังธรรมใหม่ : กำลังดำเนินการ 1 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 3 คำสัญญา

นอกจากตรวจสอบรัฐบาลแล้ว มาดูพรรคฝ่ายค้านกันบ้าง

แม้จะเป็นการยากที่จะผลักดันเสียงของประชาชนด้วยเสียงข้างน้อย แต่เราก็อยากลองชวนทุกคนทบทวนดูว่า พวกเขาพยายามเพื่อเราแค่ไหน ดังนั้น สำหรับพรรคฝ่ายค้าน หากดำเนินการมาถึงขั้นตอน “เสนอต่อสภา” ขึ้นไป หรือใช้กลไกของสภา เช่น การอภิปราย การตั้งกระทู้ถาม นั่นแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายค้านได้พยายามผลักดันให้คำสัญญานั้นได้เป็นที่รับรู้ หรือเข้าสู่กระบวนการตามอำนาจหน้าที่ที่พวกเขาทำได้

พรรคก้าวไกล : 1 คำสัญญาที่กำลังดำเนินการ และเสนอต่อสภาแล้ว 11 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 27 คำสัญญา 

พรรคประชาชาติ : เสนอต่อสภาแล้ว 5 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 12 คำสัญญา

  • กระจายอำนาจอธิปไตยให้ชุมชนท้องถิ่น https://promisetracker.wevis.info/promises/12
  • แก้ปัญหาของชาติด้วยวิถีทางประชาธิปไตยที่ธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม https://promisetracker.wevis.info/promises/34
  • แก้ปัญหาวิกฤติความขัดแย้งให้เกิดสมานฉันท์ปรองดองของคนในชาติ และปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ https://promisetracker.wevis.info/promises/38
  • ยกเลิกและปฏิรูปกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ระบบงบประมาณและภาษีอากรให้เกิดความเป็นธรรม https://promisetracker.wevis.info/promises/242
  • ส่งเสริมระบบรัฐสวัสดิการด้านการศึกษา การรักษาพยาบาลฟรี ระบบบำนาญและสวัสดิการ (เบี้ยผู้สูงอายุ 3,000 บาท/เดือน) https://promisetracker.wevis.info/promises/296

พรรคเพื่อไทย : 1 คำสัญญาที่กำลังดำเนินการ และเสนอต่อสภาแล้ว 2 คำสัญญา จากที่หาเสียงไว้ 16 คำสัญญา

สิ่งที่ประชาชนทุกคนทำได้ คือการ “ติดตามและตรวจสอบ” การทำงานของนัก/พรรคการเมือง ที่อยู่ในสภาผู้แทนฯ อย่าปล่อยให้คำสัญญาเป็นของฟุ่มเฟือยในการหาเสียง และอย่าปล่อยให้การผิดสัญญาเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

อีกพลังประชาชนที่สำคัญคือวันที่เราเข้าไป “เลือกตั้ง” ในคูหา อย่าปล่อยให้คนผิดสัญญาเข้าสภาในครั้งต่อไป!