Senate

แลหลัง
เหลียวหน้า ส.ว.

แลหลัง
เหลียวหน้า ส.ว.

ต่อให้เลือกตั้งอีกกี่ครั้ง ปัญหาประชาธิปไตยไทยก็จะยังคงอยู่ ถ้าที่มาและอำนาจของ ส.ว. ยังไม่ถูกแก้ไข

หลังการเลือกตั้งทั่วไป 2566 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ชุดแรกของรัฐธรรมนูญ 2560 หรือ “ส.ว. ชุดพิเศษ” ที่แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะยังคงมีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ เพราะมีวาระ 5 ปี และบ่อยครั้งที่ ส.ว. ชุดนี้ ถูกสังคมกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในปัญหาต่อประชาธิปไตยไทย

ชวนอ่านและค้นหาเรื่องราวการสืบทอดอำนาจของ คสช. ผ่านกลไกที่ให้อำนาจ ส.ว. กำหนดทิศทางการเมืองไทย เมื่อผลเลือกตั้งของประชาชนอาจถูกทำให้ไร้ความหมาย

Update ล่าสุดเมื่อ: 26 กรกฎาคม 2566

ข้ามไปสำรวจ

Part 1 ส.ว. เลือกโดย คสช. เป็นใคร มาจากไหนบ้าง?

เมื่อวาระของ ส.ว. คือ 5 ปี ส.ว. ชุดปัจจุบันจะทำงานไปจนถึง 11 พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็นจุดที่น่ากังวลของการเมืองไทยในอนาคต เนื่องจาก…

ส.ว. ชุดปัจจุบันที่แต่งตั้งตามกระบวนการในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ

มาตรา 269

อยู่ในวาระ

สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง 2566 ได้อีก 1 ครั้ง

มาตรา 272

ไม่อยู่ในวาระ

คัดเลือก ส.ว. ชุดใหม่ตามกระบวนการในบททั่วไปของรัฐธรรมนูญ

มาตรา 107

“ส.ว. ชุดใหม่” ที่ผ่านการคัดเลือก อาจมาจากการ “จัดฮั้ว” เพื่อให้ คสช. สามารถสืบทอดอำนาจต่อไป

ระบบ ส.ว. ดำเนินต่อไป

ส.ว. ในรัฐธรรมนูญ 2560 ล้วนมีที่มาเกี่ยวข้องกับ คสช. ไม่ว่าจะมาจากการคัดเลือกโดยตรงหรือโดยอ้อม

เส้นทางของ ส.ว.

ส.ว. ทั้งหมด 250 ที่นั่ง ประกอบไปด้วย 3 ประเภท

คัดเลือกโดยตรง
กลุ่มที่เป็น ส.ว. โดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
กลุ่มที่ คสช. เลือกทั้งกระบวนการ ทั้งสิ้น 194 คน - คสช. จะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ถึง 12 คน ให้มาทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่ง ส.ว. โดยผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มนี้จะจัดทำรายชื่อผู้ที่สมควรเป็น ส.ว. ทั้งสิ้น 400 คน และส่งรายชื่อดังกล่าวให้ คสช. เพื่อเลือก 194 คนสุดท้ายให้เป็น ส.ว.
คัดเลือกโดยอ้อม
กลุ่มที่เลือกกันเอง (แล้ว คสช. เลือกอีกครั้งในขั้นตอนสุดท้าย) จำนวน 50 คน - กกต. เป็นผู้จัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว. ทั่วประเทศขึ้น โดยผู้สมัคร ส.ว. จะเป็นผู้เลือกกันเองจากกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญซึ่งถูกกำหนดไว้ 10 กลุ่มในมาตรา 91 ของบทเฉพาะกาลของ พ.ร.ป. การได้มาซึ่ง ส.ว. โดยในกระบวนการเลือกกันเองนี้ จะได้รายชื่อมาทั้งสิ้น 200 คน - หลังจากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งจะนำรายชื่อทั้ง 200 คนนี้ส่งให้ คสช. และ คสช. จะเป็นผู้เลือกในขั้นตอนสุดท้าย จำนวนทั้งสิ้น 50 คนให้ดำรงตำแหน่ง ส.ว.

ซึ่ง ส.ว. เหล่านี้ มาจากหลากหลายสาขาอาชีพและหลายคนเกี่ยวข้องกับ คสช. ก่อนจะมาเป็น ส.ว.

สำรวจ ส.ว. ตามประเภทอาชีพ และความเกี่ยวข้องกับ คสช.

ส่วนต้นของเครื่องมือสำรวจ ส.ว. แตะเพื่อข้ามไปยังเนื้อหาส่วนถัดไป

โหมดการสำรวจ

คัดกรอง ส.ว.

เลือกสำรวจตาม

ประเภท ส.ว.

ความเกี่ยวข้องกับ คสช.

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ คสช. คือ ผู้ที่เคยมีตำแหน่งอยู่ในยุค คสช. ได้แก่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

สถานะ

อาชีพ

สัญลักษณ์ประเภท ส.ว.
ส.ว. โดยตำแหน่ง
ส.ว. เลือกโดย คสช.
ส.ว. เลือกกันเอง
พ้นจากตำแหน่ง
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ คสช.
ทหาร
76 คน
15 คนพ้นจากตำแหน่ง
การเมือง
72 คน
5 คนพ้นจากตำแหน่ง
องค์กรรัฐ/รัฐวิสาหกิจ
49 คน
1 คนพ้นจากตำแหน่ง
เอกชน
22 คน
1 คนพ้นจากตำแหน่ง
ตำรวจ
14 คน
2 คนพ้นจากตำแหน่ง
การศึกษา
14 คน
กฎหมาย
11 คน
สาธารณสุข
6 คน
เกษตรกรรม
6 คน
1 คนพ้นจากตำแหน่ง
อื่น ๆ
3 คน
สื่อมวลชน
1 คน
ส่วนท้ายของเครื่องมือสำรวจ ส.ว. แตะเพื่อย้อนกลับไปยังเนื้อหาก่อนหน้า

ตามรัฐธรรมนูญปี 256080% ของ ส.ว.หรือ 200 จาก 250 คนถูกคัดเลือกโดย คสช. โดยตรง และอีก 20% ถูกคัดเลือกโดยอ้อม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ส.ว. ทุกตำแหน่งผ่านการคัดเลือกโดย คสช.

56.93%หรือ 156 จาก 274 คนของ ส.ว. ทั้งหมดเคยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ คสช. มาก่อน

สายนิติบัญญัติ132 คนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.), คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.),

เป็น ส.ว. โดยตำแหน่ง 2 คน
เป็น ส.ว. เลือกโดย คสช. 122 คน
เป็น ส.ว. เลือกกันเอง 8 คน

สายบริหาร12 คนครม. ยุคประยุทธ์ 1

เป็น ส.ว. เลือกโดย คสช. 12 คน

สมาชิก คสช.3 คน

เป็น ส.ว. โดยตำแหน่ง 1 คน
เป็น ส.ว. เลือกโดย คสช. 2 คน

สายนิติบัญญัติ + สมาชิก คสช.4 คน

เป็น ส.ว. โดยตำแหน่ง 4 คน

สายนิติบัญญัติ + สายนิติบริหาร3 คน

เป็น ส.ว. เลือกโดย คสช. 3 คน

สายบริหาร + สมาชิก คสช.2 คน

เป็น ส.ว. เลือกโดย คสช. 2 คน
สามอันดับอาชีพยอดฮิตของ ส.ว.

อันดับที่ 127.74%หรือ 76 จาก 274 คนของ ส.ว. อยู่ในกลุ่มอาชีพทหาร

อันดับที่ 226.28%หรือ 72 จาก 274 คนของ ส.ว. อยู่ในกลุ่มอาชีพการเมือง

อันดับที่ 317.88%หรือ 49 จาก 274 คนของ ส.ว. อยู่ในกลุ่มอาชีพองค์กรรัฐ/รัฐวิสาหกิจ

Part 2 ส.ว. ตัดสินใจอะไร แทนประชาชนไปแล้วบ้าง?

รัฐธรรมนูญ 2560 ให้อำนาจ ส.ว. เหล่านี้มากถึงขนาดที่สามารถกำหนดทิศทางของการเมืองไทยได้

เมื่อพิจารณาผลโหวตของ ส.ว. ต่อมติต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในสภา จะพบว่า คนเหล่านี้มักใช้อำนาจของตนออกเสียงสนับสนุนรัฐบาล คสช. แปลงรูปบ่อยครั้ง โดยสามารถแยกกลุ่มมติที่เอื้อประโยชน์ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ มติในที่ประชุมวุฒิสภา และ มติในที่ประชุมรัฐสภา

มติในที่ประชุมวุฒิสภา

ส.ว. 250 เสียง

มติที่ประชุมวุฒิสภา: เป็นการพิจารณาลงมติ ในเรื่องที่เป็นอำนาจของ ส.ว. มีทั้งกรณีที่พิจารณาต่อจาก ส.ส. และที่เริ่มพิจารณาโดย ส.ว. ตั้งแต่ต้นจนจบ

ตั้งบุคคลในโครงสร้างค้ำจุน คสช.9 มติ
ยุทธศาสตร์ชาติ4 มติ
ประชามติแก้รัฐธรรมนูญ2 มติ

มติในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา

ส.ว. 250 เสียงและ ส.ส. 500 เสียง

มติที่ประชุมร่วมของรัฐสภา: เป็นการพิจารณาลงมติ ในเรื่องที่เป็นอำนาจของ ส.ส. และ ส.ว. ร่วมกันตั้งแต่ต้นจนจบ

เลือกนายกรัฐมนตรี1 มติ
ร่างแก้รัฐธรรมนูญ27 มติ
ประชามติแก้รัฐธรรมนูญ2 มติ

ผลการลงมติที่แสดงในงานนี้ แสดงถึงอำนาจพิเศษของ ส.ว. ในการติดตามและเร่งรัด แผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ คสช. เขียนขึ้น รวมถึงอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นผลมาจากการสรรหา-แต่งตั้งของ คสช.

ขณะที่มติร่างแก้รัฐธรรมนูญในรัฐสภาสมัยที่ผ่านมา จะมีประเด็นเรื่องที่มาและอำนาจของ ส.ว. ในการพิจารณาเป็นส่วนมาก

ส่วนต้นของเครื่องมือสำรวจผลการลงมติของ ส.ว. แตะเพื่อข้ามไปยังเนื้อหาส่วนถัดไป

โหมดการสำรวจ

คลิกเพื่อสำรวจแต่ละมติ
ประเภทมติผ่านไม่ผ่าน
ประเภทการลงคะแนนเสียง
เห็นด้วยไม่เห็นด้วยงดออกเสียงไม่เข้าประชุมไม่ลงคะแนน

มติในที่ประชุมวุฒิสภา (15)

ตั้งบุคคลในโครงสร้างค้ำจุน คสช.9 มติ
ประชามติแก้รัฐธรรมนูญ2 มติ
ยุทธศาสตร์ชาติ4 มติ

มติในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา (30)

เลือกนายกรัฐมนตรี1 มติ
ประชามติแก้รัฐธรรมนูญ2 มติ
ร่างแก้รัฐธรรมนูญ27 มติ
ส่วนท้ายของเครื่องมือสำรวจผลการลงมติของ ส.ว. แตะเพื่อย้อนกลับไปยังเนื้อหาก่อนหน้า
เปรียบเทียบความแตกต่างการเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2560
รัฐธรรมนูญปี 2540

อ้างอิงจากรัฐธรรมนูญ 2540 ใช้เสียงครึ่งหนึ่งของ ส.ส. คือ 251 เสียง จาก 500 เสียง

รัฐธรรมนูญปี 2560

ในระยะ 5 ปีแรก ให้ ส.ส. ทั้ง 500 คน กับ ส.ว. 250 คน ร่วมกันลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีโดยใช้เสียงกึ่งหนึ่งของ 2 สภา คือ 376 เสียง

Part 3 ปัญหา ส.ว. เราทำอะไรได้บ้าง?

ที่มาและอำนาจของ ส.ว. ถูกตั้งคำถามจากภาคประชาชน นักวิชาการ สื่อ และพรรคการเมืองมาหลายครั้ง การถกเถียงในประเด็นนี้ นำไปสู่การนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ส.ว. ในรูปแบบ Model

Model เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องที่มาและอำนาจของ ส.ว.

วิธีการตามกฎหมายต้องเสนออย่างไร

แนวทางการแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

การแก้ไขในเรื่องที่มาและอำนาจของ ส.ว. เป็นการแก้ไขตัวเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ 2560 เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นแม่บทที่กำหนดโครงสร้าง กลไก และหลักการพื้นฐานในการปกครองประเทศ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องมีกระบวนการไว้เป็นการเฉพาะและแตกต่างออกไปจากการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายทั่วไป โดยกระบวนการแก้ไขถูกกำหนดไว้ในหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256

เงื่อนไขพื้นฐาน

ผู้มีสิทธิยื่นแก้ไขเพิ่มเติม

คณะรัฐมนตรี
ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ที่มีอยู่
ส.ส. + ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา
ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน

เงื่อนไขการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม

ขั้นตอนการแก้ไข

วาระ 1 ขั้นรับหลักการ ต้องเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา และมีเงื่อนไขพิเศษให้ในจำนวนนี้ต้องได้เสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

วาระ 2 พิจารณาเรียงลำดับมาตรา ส.ส. + ส.ว. เอาเสียงข้างมากของทั้งสองสภา และต้องเปิดให้ประชาชนที่เข้าชื่อแสดงความเห็นด้วย ในกรณีเป็นร่างที่ประชาชนเสนอ

วาระ 3 ขั้นสุดท้าย ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา แต่มีเงื่อนไขพิเศษกำหนดให้ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และต้องได้เสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

ช่องทางการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา และอำนาจของ ส.ว.

1

กรณีแก้ไขบทบัญญัติ เรื่องที่มา และอำนาจ ส.ว. ในรัฐธรรมนูญ 2560 บทเฉพาะกาล

สำรวจตามผู้เสนอ

ภาคประชาชน3 ร่าง

  • เสนอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 269 ในบทเฉพาะกาล
  • ชื่อผู้เสนอ: นายจอน อึ๊งภากรณ์ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • ประเภทผู้เสนอ: ประชาชน
  • วันที่เสนอ: 22 ก.ย. 2563
  • วันที่สิ้นสุด: 18 พ.ย. 2563
  • รวมระยะเวลา: 58 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่
  • เสนอแก้ไขบทเฉพาะกาล โดยยกเลิกมาตรา 269 มาตรา 270 มาตรา 271 มาตรา 272 และมาตรา 279
  • ชื่อผู้เสนอ: นายพริษฐ์ วัชรสินธุ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • ประเภทผู้เสนอ: ประชาชน
  • วันที่เสนอ: 30 มิ.ย. 2564
  • วันที่สิ้นสุด: 17 พ.ย. 2564
  • รวมระยะเวลา: 141 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่
  • เสนอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 272
  • ชื่อผู้เสนอ: รศ.ดร.สมชัย ศรีสุทธิยากร กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • ประเภทผู้เสนอ: ประชาชน
  • วันที่เสนอ: 22 ก.พ. 2565
  • วันที่สิ้นสุด: 6 ก.ย. 2565
  • รวมระยะเวลา: 197 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่

ฝ่ายรัฐบาล1 ร่าง

  • แก้ไขมาตรา 270
  • ชื่อผู้เสนอ: ไพบูลย์ นิติตะวัน กับคณะ
  • ประเภทผู้เสนอ: ฝ่ายรัฐบาล พรรคพลังประชารัฐ
  • วันที่เสนอ: 7 เม.ย. 2564
  • วันที่สิ้นสุด: 24 มิ.ย. 2564
  • รวมระยะเวลา: 79 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่

ฝ่ายค้าน2 ร่าง

  • ยกเลิกมาตรา 270 และมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญ
  • ชื่อผู้เสนอ: นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ
  • ประเภทผู้เสนอ: ฝ่ายค้าน เพื่อไทย ประชาชาติ พลังปวงชนไทย ก้าวไกล เสรีรวมไทย
  • วันที่เสนอ: 10 ก.ย. 2563
  • วันที่สิ้นสุด: 18 พ.ย. 2563
  • รวมระยะเวลา: 70 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่
  • เสนอยกเลิกยกเลิกมาตรา 270 และมาตรา 271
  • ชื่อผู้เสนอ: นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ
  • ประเภทผู้เสนอ: ฝ่ายค้าน เพื่อไทย ประชาชาติ พลังปวงชนไทย ก้าวไกล และเสรีรวมไทย
  • วันที่เสนอ: 16 มิ.ย. 2564
  • วันที่สิ้นสุด: 24 มิ.ย. 2564
  • รวมระยะเวลา: 9 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่

เสนอร่วมฝ่าย2 ร่าง

  • แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272
  • ชื่อผู้เสนอ: นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ
  • ประเภทผู้เสนอ: ร่วมฝ่าย เพื่อไทย ก้าวไกล เสรีรวมไทย ประชาชาติ เพื่อชาติ พลังปวงชนไทย และไทยศรีวิไลย์
  • วันที่เสนอ: 16 มิ.ย. 2564
  • วันที่สิ้นสุด: 24 มิ.ย. 2564
  • รวมระยะเวลา: 9 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่
  • แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272
  • ชื่อผู้เสนอ: นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ
  • ประเภทผู้เสนอ: ร่วมฝ่าย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา ภูมิใจไทย และก้าวไกล
  • วันที่เสนอ: 16 มิ.ย. 2564
  • วันที่สิ้นสุด: 24 มิ.ย. 2564
  • รวมระยะเวลา: 9 วัน
  • สถานะ: ตกไปในการพิจารณาของรัฐสภา (วาระที่ 1) เนื่องจาก ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1/3 ของจำนวน ส.ว. ที่มีอยู่
2

กรณีแก้ไขบทบัญญัติ เรื่องที่มา และอำนาจ ส.ว. ในรัฐธรรมนูญ 2560 บททั่วไป

ยังไม่มีใครเคยทำ

เพราะปัญหาเรื่องที่มาและอำนาจของ ส.ว. ที่ต้องถูกแก้ไข เป็นเนื้อหาในบทเฉพาะกาล