รีวิวเว็บไซต์ติดตามการทำงานในสภาของประเทศต่างๆ ที่ทำประชาชนอย่างเราอิจฉาตาร้อน
เสร็จสิ้นวาระลุ้นประธาน-รองประธานสภากันไปแล้ว สิ่งที่น่าลุ้นกันต่อไป ก็คือคำมั่นสัญญาที่ว่าจะทำให้รัฐสภาโปร่งใสนั้น จะเป็นจริงได้หรือไม่ และอีกนานแค่ไหน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการเปิดข้อมูลให้ประชาชนได้ร่วมกันตรวจสอบ
ในฐานะที่ WeVis เรียกร้องเรื่องนี้มา 4 ปี สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง และยังยืนยันจะผลักดันต่อไป เลยอยากชวนทุกคนมาร่วมฝันปนอิจฉาไปด้วยกัน ถึงวันที่พวกเราสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ง่ายๆ เช่นเดียวกับพวกเขา
ภาพรวมแต่ละเว็บไซต์
จากการสำรวจคร่าวๆ เราเจอเว็บไซต์ที่มีจุดประสงค์ในติดตามการทำงานในสภาทั้งหมด 7 แห่ง จาก 6 ประเทศ โดยแต่ละเว็บมีความครบถ้วน ความละเอียด และจุดขายที่แตกต่างกันออกไป
- Parliament Watch – ประเทศสกอตแลนด์
Url : https://www.parliament.scot
โดย รัฐบาล
เนื่องจากเป็นเว็บไซต์เดียวในที่นี้ที่ทำโดยรัฐบาล จึงมีลักษณะที่เน้นการเปิดข้อมูลให้ครบถ้วนสำหรับให้ประชาชนนำไปใช้งานต่อ และเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่จำเป็นในการทำงานสำหรับสมาชิกสภาด้วย เช่น สื่อสารกฏระเบียบต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์อื่นที่เน้นเป็นเครื่องมือสำหรับประชาชนในการติดตามการทำงานเป็นหลัก
- GovTrack – ประเทศสหรัฐอเมริกา
Url : https://www.govtrack.us
โดย : Civic Impulse (ภาคประชาชน)
อาจเพราะเว็บไซต์นี้ก่อตั้งมานานเกือบ 20 ปี จึงทำให้ข้อมูลที่แสดงนั้นค่อนข้างละเอียด โดยเฉพาะข้อมูลเชิงสถิติต่างๆ ที่มีทั้งการแสดงข้อมูลดิบ ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว และ Visualization จำนวนมากกว่าเว็บอื่น อีกคุณสมบัติที่น่าประทับใจคือการมีส่วน Study Guide ประกบคู่อยู่กับข้อมูลต่างๆ เพื่อชี้เป้าให้ผู้ชมทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ สามารถตั้งข้อสังเกตหรือหาประเด็นที่น่าสนใจได้ด้วยตัวเอง
- They Work For You – ประเทศสหราชอาณาจักร
Url : https://www.theyworkforyou.com
โดย : mySociety (ภาคประชาชน)
บทสนทนาที่เกิดขึ้นในสภาดูจะเป็นพระเอกที่สุดของเว็บไซต์นี้ ทั้งบทสนทนาจากการดีเบท การตั้งกระทู้ถาม และการประชุมกรรมาธิการที่นำไปสู่การออกกฏหมาย โดยมีการแสดงผลที่เข้าใจง่าย ประหนึ่งอ่านแชท และยังสามารถเลือกแชร์คำพูดเหล่านี้ทางช่องทางโซเชียลมีเดียได้สะดวกอีกด้วย สมกับสโลแกนที่เขียนไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ว่า “ประชาธิปไตยเป็นของทุกคน คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสภา” ซึ่งสร้างความรู้สึกตั้งต้นที่ดี เหมือนผู้จัดทำพยายามจะบอกเราว่า ไม่ต้องกลัวนะ เราไม่ยาก
- Member of Parliament Watch – ประเทศเยอรมนี
Url : https://www.abgeordnetenwatch.de/
โดย Gregor Hackmack และ Boris Hekele (ภาคประชาชน)
เป็นอีกเว็บที่ให้ความสำคัญกับบทสนทนา ต่างกันตรงที่บทสนทนาในเว็บนี้ เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกสภาและประชาชนทางบ้านเป็นหลัก โดยเป็นช่องทางสำหรับประชาชนในการถามอะไรก็ได้ (ที่เป็นไปตามกฏของเว็บ) กับสมาชิกสภา แล้วสมาชิกคนนั้นก็จะเข้ามาตอบ สิ่งนี้นอกจากจะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐสภาให้แน่นแฟ้นแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่าผู้แทนแต่ละคน มีความรับผิดชอบในการชี้แจงประเด็นต่างๆ ต่อประชาชนมากน้อยแค่ไหน
- Open Parliament TV – ประเทศเยอรมนี
Url : https://de.openparliament.tv
โดย Joscha Jäger และคณะ (ภาคประชาชน)
อีกเว็บไซต์ของเยอรมัน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลการประชุมสภา ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นและนำไปวิเคราะห์ต่ออย่างมาก เพราะนอกจากจะมีทั้งวิดีโอ และบันทึกการถอดเสียงอย่างละเอียดแล้ว ข้อมูลยังถูกจัดกลุ่มไว้หลายมิติ สามารถเลือกดูตามผู้พูด พรรคที่สังกัด ช่วงเวลา หรือประเด็นที่สนใจได้
- Open Parliament – ประเทศอินโดนีเซีย
Url : https://openparliament.id/
โดย Indonesian Parliamentary Center (ภาคประชาชน)
ไม่แน่ใจว่าอินโดนีเซียประสบปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลคล้ายไทยเรารึเปล่า จึงทำให้เว็บไซต์นี้มีข้อมูลค่อนข้างน้อยและไม่ละเอียด เมื่อเทียบกับเว็บอื่นๆ หรืออาจเป็นความตั้งใจที่อยากเน้นให้ข้อมูลช่องทางติดต่อกับสมาชิกและเจ้าหน้าที่ในสภาเป็นหลัก
- Parliament Watch – ประเทศยูกันดา
Url : https://parliamentwatch.ug
โดย Center for Policy Analysis (ภาคประชาชน)
แม้เว็บไซต์นี้จะแสดงข้อมูลไม่ครอบคลุมทุกเรื่องของรัฐสภา แต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการออกกฏหมายนั้นมีความละเอียดในระดับหนึ่ง และถ้าพิจารณาจากสิ่งที่แสดงในหน้าแรกของเว็บ บทความวิเคราะห์ดูจะเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของเว็บนี้
ประวัติสมาชิกสภา
จะดีแค่ไหนถ้าในทุกการเลือกตั้ง เรามีข้อมูลที่ครบถ้วนทั้งมิติการทำงาน ผลงาน ผลประโยชน์ และพฤติกรรมของส.ส. เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
- เคยลงมติอะไร
Ref : https://www.govtrack.us/congress/members/alexandria_ocasio_cortez/412804 - ลงมติเหมือนหรือต่างจากคนส่วนใหญ่ในพรรค
Ref : https://www.theyworkforyou.com/mp/10001/diane_abbott/hackney_north_and_stoke_newington#register - ขาดการลงมติบ่อยช่วงไหน
Ref : https://www.govtrack.us/congress/members/alexandria_ocasio_cortez/412804 - เคยของบไปทำโครงการอะไร
Ref : https://www.govtrack.us/congress/members/alexandria_ocasio_cortez/412804 - เคยเสนอ/สนับสนุนร่างกฏหมายอะไร
Ref : https://www.govtrack.us/congress/members/alexandria_ocasio_cortez/412804 - มีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร โดยวิเคราะห์จากประวัติการสนับสนุนร่างกฏหมายต่างๆ
Ref : https://www.govtrack.us/congress/members/alexandria_ocasio_cortez/412804
- เคยอภิปรายอะไรในสภา
Ref : https://www.theyworkforyou.com/mp/10001/diane_abbott/hackney_north_and_stoke_newington#register - เคยตั้งกระทู้ถามเรื่องอะไร
Ref : https://www.parliament.scot/msps/current-and-previous-msps/karen-adam - ช่วงหาเสียงได้รับเงินบริจาคเท่าไหร่ จากใคร
Ref : https://www.opensecrets.org/members-of-congress/summary?cid=N00041162 - เคยได้รับผลประโยชน์อะไร จากใคร
Ref : https://www.theyworkforyou.com/mp/10001/diane_abbott/hackney_north_and_stoke_newington#register - เคยเป็นกรรมาธิการด้านไหน
Ref : https://www.govtrack.us/congress/members/alexandria_ocasio_cortez/412804 - เคยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่
Ref : https://www.govtrack.us/congress/members/alexandria_ocasio_cortez/412804
สำหรับในประเทศไทยตอนนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกสภาที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ มีเพียงประวัติการลงมติของสมาชิก ซึ่งสามารถดูได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info
การลงมติในสภา
ถ้าไม่นับเรื่องรูปแบบข้อมูลจากรัฐสภาที่นำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ต่อได้ยาก การลงมติน่าจะเป็นข้อมูลที่ชาวไทยพอจะได้รับรู้ในระดับที่ทัดเทียมกับชาวโลกมากที่สุด ในส่วนนี้เลยอยากชวนดูว่าเว็บไซต์ต่างๆ มีการแสดงผล และให้บริบทข้อมูลเพิ่มเติมยังไงบ้าง
- ผลการลงมติ
Ref : https://www.abgeordnetenwatch.de/bundestag/20/abstimmungen/fachkraefteeinwanderung#filterbar
- ผลรายพรรค
Ref : https://www.abgeordnetenwatch.de/bundestag/20/abstimmungen/fachkraefteeinwanderung#filterbar - ผลรายคน
Ref : https://www.abgeordnetenwatch.de/bundestag/20/abstimmungen/fachkraefteeinwanderung#filterbar
- ผลรายพื้นที่
Ref : https://www.govtrack.us/congress/votes/118-2023/h288
- คนที่ลงมติอย่างเหนือความคาดหมาย โดยพิจารณาจากสถิติการโหวตของคนอื่นในพรรค และปัจจัยอื่นๆ
Ref : https://www.govtrack.us/congress/votes/118-2023/h288 - เปรียบเทียบผลรายคนของมตินี้กับมติอื่นๆ
Ref : https://www.govtrack.us/congress/votes/compare/h285-118.2023,h289-118.2023 - การถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับมตินี้
Ref : https://www.theyworkforyou.com/divisions/pbc-5031_ENERGY_18-0_2023-06-29-21
ข้อมูลการลงมติของรัฐสภาไทย สามารถดูได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info/votelog/
การประชุมในสภา
รู้หรือไม่ว่านอกจากการประชุมสภาที่เห็นถ่ายทอดสดทางช่องสถานีโทรทัศน์รัฐสภาแล้ว ยังมีการประชุมอีกประเภทที่มีความสำคัญและเข้มข้นยิ่งกว่า เพราะส่งผลต่อการพิจารณากฏหมาย นโยบาย และงบประมาณอย่างยิ่ง นั่นคือการประชุมคณะกรรมาธิการ ซึ่งปัจจุบันการประชุมนี้ยังคงเป็นดินแดนสนธยาสำหรับประชาชนทั่วไป ทุกคนลองจินตนาการดูสิว่า ถ้าต่อไปข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยออกมา เสมือนเราได้เข้าไปนั่งเป็นสักขีพยานการประชุมด้วย สมาชิกสภาจะตั้งใจทำงานเพื่อพวกเรามากขึ้นแค่ไหน
- ตารางการประชุมและหัวข้อ
Ref : https://www.congress.gov/committee-schedule/weekly/2023/07/03 - ความถี่ในการประชุมแต่สัปดาห์
Ref : https://www.govtrack.us/congress/committees/ - รายงานสรุปการประชุม
Ref : https://www.govtrack.us/congress/committees/HSAG - ผู้เข้าร่วมประชุม
Ref : https://www.govtrack.us/congress/committees/HSAG - บทสนทนา และ วิดีโอบันทึกการประชุม
Ref : https://de.openparliament.tv/media/DE-0190071011?q=Brexit&dateFrom=2018-11-22&dateTo=2019-01-07 - สัดส่วนการพูดของแต่ละพรรค
Ref : https://de.openparliament.tv/search?q=Brexit - การลงมติที่เกี่ยวข้องกับการประชุม
Ref : https://www.theyworkforyou.com/debates/?id=2023-06-27c.170.2
ในส่วนของรัฐสภาไทย แม้จะมีการถ่ายทอดสดบางการประชุมและสามารถดูย้อนหลังได้ทาง https://www.youtube.com/@TPchannel10/streams แต่เนื่องจากเป็นช่องทางใน Youtube ที่รวมรายการอื่นๆ ของรัฐสภาไว้ด้วย จึงค่อนข้างยากต่อการสืบค้น
การผ่านกฏหมายของสภา
แม้กฏหมายจะดูเป็นเรื่องเข้าใจยากและได้รับความสนใจน้อยที่สุดในบรรดาข้อมูลสภาทุกประเภท แต่ใครจะรู้ว่าวันหนึ่งเราอาจได้รับผลกระทบจากกฏหมายบางข้อ จนทำให้อยากรู้ที่มาที่ไป เบื้องลึกเบื้องหลัง ว่ากฏหมายนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ผ่านการถกเถียงอะไรกันมา และใครเป็นผู้ผลักดันหรือมีส่วนร่วมบ้าง จึงน่าอิจฉาที่หลายเว็บไซต์สามารถให้คำตอบเหล่านี้กับประชาชนได้
- ร่างกฏหมายเกี่ยวกับอะไร
Ref : https://www.govtrack.us/congress/bills/118/hr82 - อยู่ในกระบวนการไหน
Ref : https://www.govtrack.us/congress/bills/118/hr82 - ใครเป็นผู้เสนอ/ร่วมเสนอ
Ref : https://www.govtrack.us/congress/bills/118/hr82 - การประชุมเกี่ยวกับร่างนี้
Ref : https://openparliament.id/2023/04/04/ruu-narkotika/ - บทสนทนาที่เกิดขึ้นในการประชุม
Ref : https://www.theyworkforyou.com/pbc/2022-23/Digital_Markets%2C_Competition_and_Consumers_Bill/ - โอกาสที่จะได้ออกเป็นกฏหมาย โดยพิจารณาจากร่างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่างนี้
Ref : https://www.govtrack.us/congress/bills/118/hr82 - สมาชิกพูดอะไรเกี่ยวกับร่างนี้บนสื่อบ้าง
Ref : https://www.govtrack.us/congress/bills/118/hr82 - ช่องทางติดต่อกรรมการที่เกี่ยวข้อง
Ref : https://openparliament.id/2023/04/04/ruu-narkotika/
สำหรับประเทศไทย มีข้อมูลเรื่องนี้อยู่พอสมควร สามารถดูได้ที่ https://wevis.info/law-watch
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- สถิติพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของสมาชิกสภา
Ref : https://www.govtrack.us/misconduct - สถิติการเป็นโควิดของสมาชิกสภา
Ref : https://www.govtrack.us/covid-19 - ติดตามการกู้เงินของรัฐบาล
Ref : https://parliamentwatch.ug/all-loans/
แม้เว็บไซต์ที่เราเจอส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยภาคประชาชน แต่เว็บไซต์เหล่านี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าขาดการอำนวยความสะดวกในการเปิดข้อมูลในรูปแบบที่นำไปใ้ช้งานต่อได้ง่ายจากฝั่งรัฐบาล