เกี่ยวกับโครงการ

เป้าหมาย
ตั้งแต่เกิดจนตายลง เราต่างต้องเกี่ยวข้องกับบริการของภาครัฐโดยรัฐเองก็พยายามทำบริการให้อยู่ในรูปแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เรียกว่า E-Government Service เพื่อให้บริการประชาชน แต่ค่อนข้างที่จะมีหลากหลายบริการ แถมยังอยู่ในช่องทางที่ต่างกัน ทั้งในเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ในไลน์ คำถามคือ แล้วจะต้องใช้ช่องทางไหนล่ะถึงจะง่ายที่สุด?

เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ทีม WeVis จึงรวบรวมข้อมูลและวิธีการใช้บริการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน (life Hack) เพื่อชี้เป้าช่องทางใช้งาน e-service ของรัฐบาลที่ชีวิตนี้ ทุกคนหนีไม่พ้น โดยจะเลือก E-Government Service ช่องทางที่ง่ายที่สุด 1 ช่องทางพร้อมสอนวิธีการแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด

พร้อมกับนำตัวอย่างจากต่างประเทศมาให้แสดงให้เห็นด้วย ซึ่งประเทศที่เลือกมาถูกประเมินด้วย UN E-Government Survey ใช้เกณฑ์ต่างๆมาประเมินและจัดอันดับประเทศใน United Nations (UN) ทั้งหมดถึงการบริการ E-Government Service ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกประเมินเช่นกัน

นอกจากการรวบรวมช่องทางแล้ว โปรเจกต์นี้ตั้งใจสอบถามความคิดเห็นจากทุกคนที่ใช้บริการว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง? และความเห็นเหล่านี้จะถูกรวบรวมพื่อยื่นต่อสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ต่อไป เพื่อสุดท้ายจะนำไปสู่การพัฒนา E-Government Service ของไทยต่อไป
ที่มาของข้อมูล
ทางทีมผู้พัฒนา ได้ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ United Nations (UN) เกี่ยวกับข้อมูลการประเมินการให้บริการ E-Government Service โดยเกณฑ์ไม่ได้เน้นการวัดเพื่อพัฒนาตามเป้าหมายของ E-Government Service โดยตรง ส่วนใหญ่เน้นการวัดปฏิบัติงานของรัฐบาลรองรับระดับชาติให้สัมพันธ์กัน แต่ภาพรวมของเกณฑ์บอกถึงการให้บริการ และข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ เกี่ยวกับสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตในไทย เว็บไซต์และแอปพลิเคชันการให้บริการ E-Government Service ของประเทศไทย , ประเทศอังกฤษ , ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศแอสโตเนีย
หมายเหตุ

1. ข้อมูลจากต่างประเทศบางบริการต้องใช้รหัสเฉพาะภายในประเทศนั้นๆ ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลเชิงลึกมาให้ได้ ซึ่งพยายามรวบรวมมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อมาแสดงผล

2. จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลมีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของรัฐบาลที่ดีเช่นกัน แต่ไม่ได้เลือกมาแสดง อย่างเช่น CITIZENinfo ที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) พยายามพัฒนาเพื่อชี้เป้าให้ประชาชนรู้ว่าถ้าต้องติดต่อบริการภาครัฐ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ต้องไปทำเรื่องที่ไหนบ้าง (แต่หลายๆ บริการก็ยังไม่มีข้อมูลและไม่สามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ได้)
นโยบายการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจ็กต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike License คือสามารถนำไปเผยแพร่และดัดแปลงได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน

หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ team [at] punchup.world
อาสาสมัครร่วมพัฒนา
เขียนโปรแกรม
กฤษณ์ ตันติแสงอรุณ
สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ศุภิสรา อิศรานุกูล
บรรณาธิการ ธนิสรา เรืองเดช
ประสานงานและจัดการอื่นๆ
Punch Up โปรเจกต์ Life Hack ชี้เป้า!!รวมช่องทางใช้งาน e-service ของรัฐบาลที่ชีวิตนี้ คุณหนีไม่พ้นแน่นอน ยังได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ
Share