ย้อนรำลึก “ข้าราชการการเมือง” ในยุคประยุทธ์ 2
ระหว่างที่ทุกคนกำลังถกเถียงคาดเดากันไปต่างๆ นานาว่าการจัดตั้งรัฐบาลรอบนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พรรคไหนจะได้ที่นั่งกระทรวงใดไปครอบครอง WeVis ขอคั่นเวลาด้วยการพาทุกคนไปรำลึกอดีตอันแสน…(เติมเอาเอง) ผ่านการสำรวจข้อมูลข้าราชการการเมืองในยุคประยุทธ์ 2 ที่ผ่านมา และจับตาดูคณะทำงานชุดใหม่กัน
“ข้าราชการการเมือง” ที่เราพูดถึงนั้นประกอบไปด้วยคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเหล่าผู้ร่วมทำงานกับสมาชิก ครม. ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประชาชนคนไทย ทั้งในเชิงที่มาของตำแหน่ง เนื้องาน และรายได้
- ที่มาของตำแหน่ง : ครม. และผู้ร่วมทำงานกับสมาชิก ครม. จะถูกคัดเลือกและแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกฯ มาจากการโหวตร่วมกันของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง
- เนื้องาน : บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ในงานบริหารราชการแผ่นดินตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทุกคน
- รายได้ : รายได้ประจำตำแหน่ง และรายได้สำหรับการบริหารงานในกระทรวงต่าง ๆ ที่สมาชิก ครม. เป็นผู้รับผิดชอบล้วนมาจากภาษีของประชาชนทั้งสิ้น ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม
“ข้าราชการการเมือง” ที่ถูกแต่งตั้งในรัฐบาลประยุทธ์ 2
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีบุคคลที่วนเวียนเข้า-โยกย้าย-ออกอยู่ในสำนักนายกฯ และกระทรวงต่างๆ รวมแล้ว 201 คน ประกอบไปด้วยตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือน (เงินเดือน + เงินประจำตำแหน่ง) ดังต่อไปนี้
- นายกรัฐมนตรี 125,590 บาท/เดือน
- รองนายกรัฐมนตรี 119,920 บาท/เดือน
- รัฐมนตรี 115,740 บาท/เดือน
- รัฐมนตรีช่วย 113,560 บาท/เดือน
- ผู้ทำงานกับคนใน ครม. ได้แก่
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 81,700 บาท/เดือน
- รองเลขาฯ ฝ่ายการเมือง 70,620 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษานายกฯ 72,660 บาท/เดือน
- ที่ปรึกษารองนายกฯ และรัฐมนตรี 57,250 บาท/เดือน
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 57,250 บาท/เดือน
- รองโฆษก 49,210 บาท/เดือน
- ข้าราชการประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 28,260 บาท/เดือน
- เลขานุการรัฐมนตรี 49,210 บาท/เดือน
- ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี 44,110 บาท/เดือน
“คนหน้าใหม่” ที่ถูกแต่งตั้งในรัฐบาลประยุทธ์ 2
ในบรรดา 201 คนที่ถูกแต่งตั้งในรัฐบาลประยุทธ์ 2 มี 62 คน (31%) ที่ยังไม่เคยมีบทบาทในวงการการเมืองแน่ชัดมาก่อนรับตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนที่ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษา และเลขารัฐมนตรี มีรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยเพียงตำแหน่งละ 1 คนเท่านั้น ที่เป็นคนหน้าใหม่ในวงการการเมือง คือ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (รมต. กระทรวงพลังงาน) ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของพีทีที โกลบอล เคมิคอล
และนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ (รมช. กระทรวงแรงงาน) ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
“โควต้าพรรคร่วมรัฐบาล” ในรัฐบาลประยุทธ์ 2
เป็นที่รู้กันในแวดวงการเมืองว่าพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากในการเลือกตั้ง ก็จะมีโอกาสได้ตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากตามไปด้วย จากผลการเลือกตั้งปี 2562 ที่พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนสูงที่สุดในบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล จึงได้ครอบครองตำแหน่งรัฐมนตรีไปถึง 9 กระทรวง (นับรวมกระทรวงที่เคยได้ตำแหน่ง แต่ปัจจุบันเป็นของพรรคอื่น) รองลงมาคือประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยที่ได้ตำแหน่งไป 3 กระทรวงเท่ากัน สอดคล้องกับผลเลือกตั้งที่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีช่วย และผู้ร่วมงานอาจจะมาจากพรรคเดียวกันกับรัฐมนตรี หรือมาจากต่างพรรคก็ได้
กระทรวงที่ประกอบด้วยคนจากพรรคเดียวกันหรือไม่สังกัดพรรค ได้แก่
- คลัง (พลังประชารัฐ)
- ดิจิตัล (พลังประชารัฐ)
- อุตสาหกรรม (พลังประชารัฐ)
- วัฒนธรรม (พลังประชารัฐ)
- แรงงาน (พลังประชารัฐ)
- ยุติธรรม (พลังประชารัฐ)
- พาณิชย์ (ประชาธิปัติย์)
- ความมั่นคง (ประชาธิปัติย์)
- ท่องเที่ยว (ภูมิใจไทย)
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ชาติไทยพัฒนา)
- อุดมศึกษา (รวมพลังประชาชาติไทย)
กระทรวงที่ประกอบด้วยคนจากหลายพรรค รวมถึงคนที่ไม่สังกัดพรรค ได้แก่
- สาธารณะสุข (ภูมิใจไทย + ประชาธิปัตย์)
- พลังงาน (พลังประชารัฐ + ประชาธิปัตย์)
- มหาดไทย (ประชาธิปัตย์ + ภูมิใจไทย)
- ศึกษาธิการ (พลังประชารัฐ + ประชาธิปัตย์ + ภูมิใจไทย)
- คมนาคม (ภูมิใจไทย + พลังประชารัฐ + ประชาธิปัตย์)
- เกษตร (ประชาธิปัตย์ + ชาติไทยพัฒนา + ภูมิใจไทย + พลังประชารัฐ)
“ความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ” ของข้าราชการการเมืองในรัฐบาลประยุทธ์ 2
คนที่อยู่ในตำแหน่งเหล่านี้ นอกเหนือจากความสัมพันธ์ในเชิงพรรคการเมืองแล้ว
ยังปรากฏความสัมพันธ์พิเศษที่อาจสะท้อนถึง “ระบบอุปถัมภ์” เอื้อผลประโยชน์กันเองในหมู่พวกพ้อง ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มการเมือง หรือเครือญาติของคนในวงการการเมือง ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โดยมีข้าราชการการเมืองทั้งหมด 31 คน (15%) ที่มีความสัมพันธ์ประเภทใดประเภทหนึ่งกับคนในรัฐบาล เรียงจากมากไปน้อย ดังต่อไปนี้
- สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกฯ)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- 6 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- อุตตม สาวนายน (อดีต รมต. คลัง)
- 4 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- สุวิทย์ เมษินทรีย์ (อดีต รมต. อุดมศึกษา)
- 4 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ (อดีต รมต. พลังงาน)
- 4 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- กอบศักดิ์ ภูตระกูล (อดีตรองเลขาฯ ของสมคิด)
- 4 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกฯ)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- อธิรัฐ รัตนเศรษฐ (รมช. คมนาคม)
- 3 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- ตติรัฐ รัตนเศรษฐ (เลขาฯ ของอธิรัฐ)
- 3 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- เสกสกล อัตถาวงศ์ (ที่ปรึกษานายกฯ)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกฯ)
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (อดีต รมต. ดิจิตัล)
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- อนุพงษ์ เผ่าจินดา (รมต. มหาดไทย)
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- สมศักดิ์ เทพสุทิน (รมต. ยุติธรรม)
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (อดีต รมต. ศึกษาธิการ)
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รมต. อุตสาหกรรม)
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- ธรรมนัส พรหมเผ่า (อดีต รมช. เกษตร)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- 1 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- ถาวร เสนเนียม (อดีต รมช. คมนาคม)
- 2 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- วิวัฒน์ นิติกาญจนา (อดีตที่ปรึกษา รมต. ยุติธรรม)
- 2 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- ธนวัชร นิติกาญจนา (ที่ปรึกษา รมต. ยุติธรรม)
- 2 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- วิษณุ เครืองาม (รองนายกฯ)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- อนุชา นาคาศัย (รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- พิพัฒน์ รัชกิจประการ (รมต. ท่องเที่ยว)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (รมต. คมนาคม)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- มนัญญา ไทยเศรษฐ์ (รมช. เกษตร)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ (อดีตรมช. แรงงาน)
- 1 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- อนุรุทธิ์ นาคาศัย (เลขาฯ รมต. พลังงาน)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- ภูผา ลิกค์ (ผู้ช่วยเลขาฯ ของธรรมนัส)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- จุรีพร สินธุไพร (อดีตประจำสำนักเลขาฯ)
- 1 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
- ธนพร ศรีวิราช (ประจำสำนักเลขาฯ)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- ชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ (ที่ปรึกษาของอนุชา)
- 1 ความสัมพันธ์กับเครือญาติ
- อานนท์ แสนน่าน (ประจำสำนักเลขาฯ)
- 1 ความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมือง
“เครือญาติและกลุ่มการเมือง” ในรัฐบาลประยุทธ์ 2
โดยสรุป รัฐบาลนี้มีกลุ่มความสัมพันธ์ทางเครือญาติทั้งหมด 12 ครอบครัว ได้แก่
- จันทร์โอชา
- จาตุศรีพิทักษ์
- เครืองาม
- รัชกิจประการ
- ชิดชอบ
- ไทยเศรษฐ์
- รัตนเศรษฐ
- นาคาศัย
- นิติกาญจนา
- ลิกค์
- อัตถาวงศ์
- พรหมเผ่า (ภรรยาใช้คนละนามสกุลกับธรรมนัส)
และกลุ่มการเมือง 6 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่ม 3 ป.
- กลุ่ม กปปส.
- กลุ่มสมคิด & 4 กุมาร
- กลุ่มสามมิตร
- ก๊วนธรรมนัส
- อดีตแกนนำเสื้อแดง
น่าจับตาดูกันต่อไปว่ารัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะมีรูปแบบความสัมพันธ์ที่เหมือนหรือแตกต่างจากนี้หรือไม่
ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลได้ที่ https://docs.google.com/spreadsheets/d/13pLMMNgFKJOjiFI4ALzLZLLV9__UCMKxj1pPCLn0KLA/edit#gid=1534607530
ที่มาข้อมูล :
- ตำแหน่งและรายได้ของข้าราชการการเมือง : https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20130904135136.pdf
- ฐานข้อมูลคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการการเมือง : https://www.soc.go.th/?page_id=538
- กลุ่มการเมือง : https://ilaw.or.th/node/6063