Content by

เมื่อการเบ่งบานของประชาธิปไตยใน 14 ตุลา ไม่ได้เกิดแค่ในศูนย์กลางกรุงเทพฯ

ปักหมุดประชาธิปไตย ผ่านเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวทั่วประเทศไทย ก่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกรุงเทพฯ

.
ครบรอบ 51 ปี กับเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตย 14 ตุลาคม 2516 “วันประชาธิปไตย”

เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา ภาพจำของใครหลายๆ คน คงหนีไม่พ้นภาพ ‘นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และปัญญาชน’ ที่ ‘ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนราชดำเนิน มาจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และสิ้นสุดที่พระราชวังสวนจิตรลดา’

.

ภาพจำเหล่านั้น อาจจะเป็นภาพที่ ‘ผู้กำหนดประวัติศาสตร์’ ต้องการที่จะให้พวกเราเห็นผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น สื่อ หรือช่องทางที่ง่ายที่สุดอย่าง ‘การศึกษา’ ที่เกือบครึ่งชีวิตของใครหลายๆ คนรับรู้การบันทึกเหตุการณ์ความอุกอาจครั้งนี้อยู่ในบทเรียนเพียงไม่กี่หน้าเท่านั้น 

.

จุดเริ่มต้นของความตึงเครียดในเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 เริ่มขึ้นจากความคับแค้นใจของประชาชนที่ต้องอยู่ภายใต้ระบอบ ‘สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส’ หรือการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมจากกลุ่มเผด็จการทหารคณาธิปไตยเหล่านี้ ทำให้เสรีภาพทางการเมืองและการพัฒนาของเศรษฐกิจไทยถูกแช่แข็งมานานนับ 10 ปี ผลประโยชน์กระจุกตัวอยู่ที่คนไม่กี่กลุ่ม ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้ผู้คนเริ่มตั้งคำถามต่อสิ่งที่เป็นอยู่ ปัญญาชนเริ่มตระหนักถึงศักยภาพของตนเองในการเรียกร้องความเป็นธรรม และความคิดดังกล่าวไม่ได้คุกกรุ่นอยู่เพียงแค่ในกรุงเทพฯ เพียงที่เดียว 

.

ความเคลื่อนไหวของขบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ในแต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่มักเริ่มขึ้นช่วงต้นเดือนตุลาคม 2516 หลังจากเหตุการณ์จับ 12 แกนนำเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ในวันที่ 8 ตุลาคม 2516 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารในสมัยนั้นเกิดขึ้นผ่านการฟังวิทยุกระจายเสียงข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และการติดต่อสื่อสารกันผ่านกลุ่มองค์กรนักเรียน นักศึกษา ภายใต้กลุ่มผู้นำหลักในกรุงเทพฯ อย่าง ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) 

.

งานชิ้นนี้ตั้งใจอยากพาทุกคนไปสำรวจดูว่า นอกจากภาพการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผู้นำขบวนการอย่างศูนย์กลางนิสิตฯ ที่บทเรียนหรือหน้าสื่อต่างๆ พยายามนำเสนอกันมาโดยตลอดนั้น ยังมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ประชาชนส่วนอื่นๆ ในประเทศไทยที่มีส่วนร่วมเป็นแสงสว่างของการจุดประกายประชาธิปไตยในครั้งนี้อยู่ที่ไหนกันบ้าง

.

ข้อมูลดังกล่าว มาจากการรวบรวมของอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา อาจมีบางจังหวัดที่ไม่สามารถระบุเครือข่ายได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นผู้เข้าร่วมจากโรงเรียนหรือวิทยาลัยใดบ้าง (จังหวัดที่ไม่ปรากฏชื่อ หมายถึงจังหวัดที่ไม่มีการบันทึกในแหล่งที่มาของข้อมูล) แต่ส่วนใหญ่ในเกือบทุกจังหวัดมีการเคลื่อนไหวต่อเหตุการณ์ในเดือนตุลาคมร่วมกัน ผ่านการติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ และจดหมายจากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย โดยการแสดงออกทางการเมืองของทุกจังหวัดมีความคล้ายคลึงกัน เช่น การปราศรัย การไฮด์ปาร์ค จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การเดินขบวนประท้วงขับไล่รัฐบาลเผด็จการ แปะโปสเตอร์ประณามการกระทำที่รุนแรง และมีหลายกลุ่มที่พยายามจะเข้ามาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ แต่ไม่สามารถเข้ามาได้เนื่องจากถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

.

แต่กลุ่มคนเหล่านี้มีเป้าหมายหลักร่วมกันคือ “เรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ และทวงคืนความเป็นประชาธิปไตย” และบทบาทอื่นๆ ที่สำคัญหลังเหตุการณ์การนองเลือดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ในกรุงเทพฯ ได้แก่ การเปิดรับบริจาคเงิน บริจาคโลหิต ส่งมายังศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และร่วมไว้อาลัยต่อวีรชน 14 ตุลา

.

ภาคเหนือ 

แม่ฮ่องสอนนักเรียนและประชาชน
เชียงใหม่กลุ่มนักศึกษาผู้รักชาติ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เชียงรายนักเรียนโรงเรียนการช่างเชียงราย
ลำปางนักศึกษาวิทยาลัยครูลำปาง
ลำพูนนักเรียนและประชาชนในจังหวัดลำพูน
น่านนักเรียนโรงเรียนการช่างน่าน โรงเรียนเกษตรกรรมน่าน โรงเรียนสตรีน่าน โรงเรียนสตรีสวัสดิ์วิทยากร และโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา
แพร่นักเรียนจากโรงเรียนการช่างแพร่ โรงเรียนอาชีว ศึกษาแพร่ โรงเรียนพาณิชยการแพร่ และโรงเรียน พานิชยการลานนา 
อุตรดิตถ์วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์  นักเรียนโรงเรียนอุตรดิตถ์และโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
สุโขทัยนักเรียนและประชาชน
พิษณุโลกวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก 
ตากนักเรียนและประชาชน
กำแพงเพชรนักเรียนและประชาชน
พิจิตรนักเรียนและประชาชน
เพชรบูรณ์โรงเรียนวิทยานุกูลนารี
นครสวรรค์นักศึกษาวิทยาลัยครู นักเรียนวิทยาลัยเทคนิค 
อุทัยธานีนักเรียนโรงเรียนการช่างอุทัยธานี นักเรียนโรงเรียนอุทัยวิทยาลัย และโรงเรียนเมืองอุทัยธานี

ภาคใต้

กระบี่ครูและนักเรียนในจังหวัดกระบี่
ชุมพรนักเรียนโรงเรียนการช่างชุมพร และนักเรียนในเขตเทศบาล
ตรังนักเรียนและประชาชน
นครศรีธรรมราชนักเรียนและนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรกรรม โรงเรียนภาษาต่างประเทศพณิชยการและเลขานุการ โรงเรียนการช่างนครศรีธรรมราชวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช โรงเรียนอาชีวะศึกษานครศรีธรรมราช โรงเรียนศิลปหัตถกรรม โรงเรียนจรัสพิรากร โรงเรียนกัลยานีศรีธรรมราช โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
นราธิวาสศูนย์กลางนักเรียนจังหวัดนราธิวาส
ปัตตานีนักเรียนและประชาชน
พังงานักเรียนและประชาชน
พัทลุงนักเรียนโรงเรียนเทศบาล โรงเรียนการช่าง
ภูเก็ตนักเรียนโรงเรียนสตรีภูเก็ต โรงเรียนประสาทวิทยา โรงเรียนเทคนิคภูเก็ต โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย และวิทยาลัยครูภูเก็ต
ยะลานักเรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง นักเรียนเทคนิคยะลา และนักศึกษาวิทยาลัยครูยะลา
ระนองนักเรียนโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร
สงขลานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยครูสงขลา วิทยาลัยวิชาการศึกษา และวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้
สตูลนักเรียนโรงเรียนสตูลวิทยา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศรีสะเกษนักเรียนจากโรงเรียนเกษตรกรรมศรีสะเกษ โรงเรียนการช่างศรีสะเกษ และโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย 
หนองคายโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร โรงเรียนการช่างหนองคาย
เลยคณะครูและนักเรียนโรงเรียนการช่างเลย โรงเรียนเลยพิทยาคม โรงเรียนอาชีวศึกษาเลย
อุดรธานีนักศึกษาวิทยาลัยครูอุดรธานี นักเรียนจากโรงเรียนการช่างสตรีและโรงเรียนเทคนิคจังหวัดอุดรธานี
นครพนมนักเรียนโรงเรียนการช่างนครพนม นักเรียนโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย 
สกลนครนักศึกษาวิทยาลัยครูสกลนคร นักเรียนโรงเรียนการช่างสกลนคร 
ขอนแก่นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น นักเรียนมัธยม โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
กาฬสินธุ์นักเรียนจากโรงเรียนการช่างกาฬสินธุ์ โรงเรียนเกษตรกรรมกาฬสินธุ์ และโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ 
มหาสารคามกลุ่มนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม วิทยาลัยวิชาการศึกษา
ร้อยเอ็ดโรงเรียนสตรีศึกษา นักเรียนโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย โรงเรียนการช่างชาย
นครราชสีมานักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยครูนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงเรียนช่างกลพาณิชยการ 
บุรีรัมย์นักเรียนนักศึกษาจากวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ โรงเรียนเกษตรบุรีรัมย์ และโรงเรียนการช่างบุรีรัมย์
สุรินทร์นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์ นักเรียนจากโรงเรียนอาชีวศึกษาสุรินทร์ 
อุบลราชธานีนักศึกษาวิทยาลัยครูอุบลราชธานี โรงเรียนพานิชยการอุบลราชธานี โรงเรียนเทคนิคอุบลราชธานี โรงเรียนเบญจมมหาราช

ภาคกลาง

ชัยนาท​​นักเรียนโรงเรียนการช่างชัยนาท
สิงห์บุรีนักเรียนโรงเรียนการช่างสิงห์บุรีและโรงเรียนอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
ลพบุรีนักเรียนนักศึกษาจากโรงเรียนเทคนิคลพบุรี โรงเรียนช่างกลละโว้ โรงเรียนพาณิชยการลพบุรี และวิทยาลัยครูเทพสตรี
สุพรรณบุรีนักเรียนและประชาชน
อยุธยานักศึกษาวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา
สระบุรีนักเรียนโรงเรียนการช่างสระบุรี นักเรียนโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
กาญจนบุรีนักเรียนโรงเรียนวิสุทธิรังสี โรงเรียนสตรีกาญจนา “กาญจนานุเคราะห์” โรงเรียนการช่างกาญจนบุรี โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ และโรงเรียนอาชีวศึกษากาญจนบุรี
นครนายกนักเรียนโรงเรียนนครนายกพิทยาคม และโรงเรียนการช่างนครนายก
ปทุมธานีนักเรียนโรงเรียนการช่างปทุมธานี
นครปฐมนักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาศิลปากร วิทยาลัยครูนครปฐม โรงเรียนการช่างชาย (พระประโทน) โรงเรียนอาชีวศึกษานครปฐม โรงเรียนราชินีบูรณะ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โรงเรียนเทพสิทธา โรงเรียนวรรณวิทย์ โรงเรียนบำรุงวิทยา และศูนย์กลางนักเรียนนักศึกษาจังหวัดนครปฐม
ราชบุรีนักเรียนโรงเรียนเทคนิคราชบุรี โรงเรียนช่างทอราชบุรี วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง และโรงเรียนกรุณาราชบุรี
สมุทรสาครนักเรียนและประชาชนจากในจังหวัดต่างเดินทางและเข้าร่วมด้วยตนเองในกรุงเทพ
สมุทรสงครามนักเรียนโรงเรียนการช่างชาย โรงเรียนศรัทธาสมุทร และโรงเรียนอาชีวศึกษา
เพชรบุรีนักเรียนโรงเรียนการช่างเพชรบุรี โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ
ประจวบคีรีขันธ์นักเรียนโรงเรียนการช่างประจวบคีรีขันธ์

ภาคตะวันออก

ปราจีนบุรีนักเรียน นักศึกษาและประชาชน
ฉะเชิงเทรานักเรียนโรงเรียนการช่างฉะเชิงเทรา
ชลบุรีนักเรียนและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน โรงเรียนชลราษฎร์บำรุง โรงเรียนชลกัลยานุกุล โรงเรียนเทคนิคชลบุรี โรงเรียนอาชีวศึกษาชลบุรี และโรงเรียนเกษตรกรรม
ระยองนักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคม และโรงเรียนการช่างระยอง
ตราดนักเรียนโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ โรงเรียนการช่างตราด โรงเรียนตราษตระการคุณ และโรงเรียนบ้านท่าเรือจ้าง

.

ข้อมูลข้างต้นทำให้เราได้เห็นว่า การผลิบานของประชาธิปไตยไม่ได้เกินขึ้นเพียงแค่ในศูนย์กลางอย่างกรุงเทพฯ ที่เดียว แม้ว่าในยุคสมัยนั้นเทคโนโลยีจะไม่ได้มีการพัฒนาจนสื่อสารได้รวดเร็วและง่ายดายอย่างทุกวันนี้ แต่ความมุ่งหมายเดียวกันที่เด็ดเดี่ยวชัดเจนทำให้เกิดความร่วมมือจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ของคนหนุ่มสาว เหตุการณ์ความร่วมมือที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเหล่านี้ถือเป็นอีกหนึ่งบันทึกสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่ไม่ควรถูกลบเลือนหายไป

.

ที่มา

  • อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา. ก่อนจะถึง 14 ตุลาคม 2516.
  • ประจักษ์ ก้องกีรติ (2545). ก่อนจะถึง 14 ตุลาฯ : ความเคลื่อนไหวทางการเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร (พ.ศ. 2506-2516). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 14 ตุลาคม ในต่างจังหวัด. http://www.14tula.com/.
  • เปิดลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516. https://www.thaipbs.or.th/now/content/410.