บทสนทนาทางการเมืองไทยเผชิญกับ “การแบ่งแยก” มาอย่างยาวนาน และขยายวงกว้างได้มากขึ้นด้วยพลังของโซเชียลมีเดีย สะสมเป็นบรรยากาศคุกรุ่นของการสนทนาระหว่าง “ฝ่ายฉัน” และ “ฝ่ายแก” เรื่อยมา
เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน WeVis ร่วมกับ WeWatch Monitoring Centre on Organised Violence Events (MOVE) และ The Centre for Humanitarian Dialogue ขอพาย้อนเวลาไปสำรวจภาพรวมบรรยากาศการสนทนาทางการเมืองของบัญชีต่าง ๆ บน Twitter (X) ในช่วงเวลาการเมืองร้อนแรงอย่างฤดูเลือกตั้งปี 2566 ผ่านข้อมูล “ความเป็นกลุ่มก้อน” ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบัญชี และ“การใช้คำพูดที่ไม่สร้างสรรค์” ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดหยาม คุกคาม ด้อยค่า ไปจนถึงการปลุกระดมความรุนแรง เพื่อตอบโต้ต่อฝ่ายที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากตน
ท่ามกลางบรรยากาศการสนทนาที่แนวคิดแบ่งแยกเข้มข้น จนไม่เอื้อต่อการเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์ และเกิดเป็นทางตันของการพูดคุยเพื่อหาทางออกทางการเมือง อาจถึงเวลาแล้วของการเปิดกว้างการสนทนา เพื่อขยับความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ทางการเมืองใหม่ ๆ ที่ก้าวพ้นการแบ่งแยก ไปสู่การวาดภาพอนาคตของสังคมไทยร่วมกันของผู้คนจากหลากความคิดเห็น
ข้อมูลปฏิสัมพันธ์ระหว่างบัญชีต่าง ๆ ภายใน Twitter (X) และทวิต “เนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์” ที่ปรากฏ จากรายงาน“ถอดรหัสปฏิบัติการปั่นข้อมูลข่าวสารในไทย #เลือกตั้ง2566” โดย Digital Election Analytic Lab (DEAL) เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 14 มิถุนายน 2566 จากบัญชีผู้ใช้Twitter 4 ประเภท ได้แก่
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://online.fliphtml5.com/ytkul/hqjt/
หมายเหตุ: หากต้องการนำข้อมูลฉบับเต็มของโปรเจ็คนี้ไปใช้ต่อ ขอให้ติดต่อที่อีเมล [email protected] เพื่อให้ทีมประสานคำขอไปยังหน่วยงานที่ดูแลชุดข้อมูลต่อไป
ข้อมูลที่แสดงในงานนี้ลดทอน “ปริมาณปฏิสัมพันธ์ระหว่างบัญชี (Degree of interaction)” ของแต่ละบัญชี เหลือ 5% จากทั้งหมดเนื่องจากข้อมูลดิบมีปริมาณราว 60,000 บัญชีผู้ใช้ ทำให้ไม่สามารถสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างบัญชีได้อย่างชัดเจน
การลดทอนจะส่งผลให้บัญชีจำนวนหนึ่งที่มีปริมาณปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่น ๆ ต่ำมาก ไม่ปรากฏในชาร์ต เพื่อให้ชาร์ตสามารถแสดง “ภาพรวม”ปฏิสัมพันธ์ในแต่ละช่วงเวลาได้ชัดเจน และเข้าใจง่ายมากที่สุด
ชาร์ตจะแสดงข้อมูลของ 3 กลุ่มก้อน ได้แก่ กลุ่มก้อนของบัญชีที่มักมี “ปฏิสัมพันธ์” (Fav, Reply, Retweet, Quote Retweet, Mention) กับพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคที่สนับสนุนฝ่าย 3 ป.เนื่องจากเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ และสามารถสำรวจปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ชัดเจนที่สุด
ทั้งนี้ “ปฏิสัมพันธ์” หมายถึงการโต้ตอบทุกรูปแบบระหว่างบัญชี ไม่ว่าจะเป็นเชิงสนับสนุน หรือเห็นต่างต่อกัน
ชาร์ตนี้แสดงข้อมูลในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน (8 เม.ย. - 14 มิ.ย. 2566) และเป็นข้อมูลจาก Twitter เพียงหนึ่งแหล่งเท่านั้น
ทั้งนี้หน้าตาของโครงข่ายปฏิสัมพันธ์ระหว่างบัญชีต่าง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาภายหลังระยะเวลา 3 เดือนนี้
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติมประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใด ๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
ณอนงค์ สำเร็จวิทย์
ชลธิชา หลี่
นัฐพล ไก่แก้ว
ณภัทร แต้เถา
The Centre for Humanitarian Dialogue ร่วมกับ Digital Election Analytic Lab (DEAL)
ณัฐกานต์ อมาตยกุล